หัวข้อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดลาดเป็ด(ราษฎร์บำรุง)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
ผู้ประเมิน จัตุรงค์ วงษ์ปาน
ปีที่ประเมิน 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1. เพื่อประเมินด้านบริบท (Context evaluation) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดลาดเป็ด(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input evaluation) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดลาดเป็ด(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดลาดเป็ด(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product evaluation) โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดลาดเป็ด(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนวัดลาดเป็ด(ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ในครั้งนี้ดำเนินการประเมินทั้งระบบ โดยอาศัยรูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) ซึ่งประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ 1. การประเมินด้านบริบท 2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น 3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน และ 4. การประเมินด้านผลผลิต
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและคณะกรรมการในโครงการ ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนในโครงการระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดลาดเป็ด(ราษฎร์บำรุง) ปีการศึกษา 2559 รวมจำนวน 90 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ
ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและคณะกรรมการในโครงการ ประเมิน 4 ด้าน คือ
ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต
ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสำหรับ นักเรียนในโครงการ ประเมิน 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านผลผลิต
ฉบับที่ 3 แบบสอบถามสำหรับ ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการ ประเมิน 1 ด้าน คือ ด้านผลผลิต
วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) แล้วแปลผลตามเกณฑ์
ผลการประเมินพบว่า
1. ภาพรวม พบว่า ผู้บริหารและคณะกรรมการในโครงการ ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนในโครงการ มีความเห็นว่าการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงานในระดับมาก สอดคล้องตรงกัน
2. การประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงานในระดับมากที่สุด รายการที่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ ความสอดคล้องของตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความสอดคล้องของหลักการและเหตุผล ของโครงการในระดับมากที่สุด
3. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่าด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงาน ภาพรวมสอดคล้องกัน ในระดับมาก ผู้บริหารและคณะกรรมการในโครงการ มีความเห็นภาพรวมในระดับมาก รายการที่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงาน สูงสุด คือ ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดโครงการ รองลงมา คือ ความพร้อมของครูในโครงการ และความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสื่อ ที่ใช้ในโครงการ ส่วนนักเรียนในโครงการ มีความเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายการที่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดโครงการ รองลงมา คือ การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการ และความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสื่อ ที่ใช้ในโครงการ
4. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงาน ภาพรวมในระดับมาก รายการที่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ รองลงมา คือ การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และกระบวนการนิเทศติดตาม
5. การประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นต่อการประเมินด้านผลผลิต ภาพรวมสอดคล้องกันในระดับมาก ผู้บริหารและคณะกรรมการในโครงการมีความเห็นว่า ด้านผลผลิตของโครงการ รายการที่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกตามตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามวัตถุประสงค์ ของโครงการ ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่า ด้านผลผลิตของโครงการ รายการที่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสมหรือมีผลการดำเนินงานสูงสุด คือ จำนวนนักเรียนที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรได้ระดับดีขึ้นไป และนักเรียน ในโครงการมีความเห็นว่า ด้านผลผลิตของโครงการ รายการที่มีความสอดคล้องความเหมาะสมหรือมี ผลการดำเนินงานสูงสุด คือ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง