ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและผลการใช้แบบฝึกกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด เรื่อง การชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ผู้รายงาน ศิริยุพา กัลยาทอง
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการ แบบเปิด เรื่อง การชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/ 80
2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแบบฝึกกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการ แบบเปิด เรื่อง การชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
3. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด เรื่อง การชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด เรื่อง การชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบฝึกกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด เรื่อง การชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ตามแนวคิดของบลูมและแบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งผู้รายงานได้สร้างขึ้น โดยประมวลจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson วิเคราะหดัชนีความยากงายและอํานาจจําแนกของขอสอบ การหาค่า t–test การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การคำนวณหาค่า IOC และการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ (E1 /E2)
ผลการศึกษา พบว่า แบบฝึกกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยวิธีการแบบเปิด เรื่อง การชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.87/ 82.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/ 80 ที่กำหนดไว้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เฉลี่ย 4.23