1. ความสำคัญของผลงานที่นำเสนอ
ในการเรียนการสอนสุขศึกษาและพลศึกษานั้น นักเรียนมีความจำเป็นต้องมีสมรรถภาพทางกายที่ดี เพื่อจะได้มีทักษะพื้นฐานในการมีทักษะกีฬาต่อไป การฝึกซ้อมกีฬาประเภทต่างๆต้องเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานด้านการทรงตัว ต้องมีสมรรถภาพทางกายที่ดีเป็นองค์ประกอบและต้องอยู่ในระเบียบวินัยภายใต้กฎกติกาของกีฬาแต่ละประเภท และที่สำคัญต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักยอมรับความพ่ายแพ้ยอมรับความสามารถของผู้อื่น กีฬาเป็นยาวิเศษที่สามารถรักษาโรคได้หลายประเภทและยังเป็นภูมิคุ้มกันอบายมุขที่จะชักนำเยาวชนให้เข้าไปหลงงมงาย เนื่องจากในสังคมปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุให้เยาวชนหลงผิดเป็นจำนวนมาก การศึกษาต้องบรรจุวิชาการที่มีพลังอำนาจเพียงพอที่จะชักนำให้เยาวชนไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขเหล่านั้น นั่นคือใช้ดนตรีหรือกีฬาเป็นเครื่องดึงดูดใจให้เยาวชนหันมาเอาดีทางด้านนี้ เป็นกิจกรรมที่ทำยามว่างมีพื้นฐานของบันเทิงและการมีบุคลิกภาพที่ดีอันจะนำมาซึ่งวุฒิทางอารมณ์ที่ดี เราต้องให้เยาวชนฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทรงตัวที่ถูกต้อง ตั้งแต่เยาว์วัยเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพให้สง่างาม ถึงแม้ว่าพันธุกรรมจะมีอิทธิพลต่อรูปร่างและบุคลิกลักษณะของคนเรา แต่การฝึกปฏิบัติ การออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ก็จะทำให้บุคลิกภาพและสมรรถภาพแตกต่างไปจากพันธุกรรมได้ด้วย ในสถาบันครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องดิ้นรนขวนขวาย เพื่อความอยู่รอดและสุขสบายของสมาชิกในครอบครัว ย่อมไม่มีเวลาให้กับการฝึกทักษะ การทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีให้กับบุตรหลาน ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรการศึกษา จำเป็นต้องบรรจุสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติให้เยาวชนไทยเป็นคนที่มีสมรรถภาพร่างกายที่ดี เพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจในอนาคต ตลอดจนฝึกทักษะพื้นฐานทางด้านกีฬาให้กับเยาวชนไทย ปลูกฝังให้เยาวชนไทยรักกีฬา และรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หลีกเลี่ยงปัญหาทางสังคมที่จะตามมา โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาสมรรถภาพร่างกายของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
จากการได้ทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีนักเรียนสมรรถภาพทางกายต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จึงทำให้เกิดความคิดที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องสมรรถภาพทางกาย การพัฒนาสมรรถภาพทางกาย โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน
2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
จุดประสงค์
1. เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบสมรรถภาพก่อนและหลังใช้การละเล่นพื้นบ้าน
เป่าหมายของการดำเนินงาน
1. ได้แนวทางการพัฒนาสมรรถภาพโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน
2. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้การละเล่นพื้นฐานสูงกว่าก่อนใช้
3.กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ขั้นวางแผนการปฏิบัติงาน
1.1 ศึกษารายละเอียด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
1.2 ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนอายุ 7-9 ปี
1.3 ออกแบบกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย
2.ขั้นการทำตามแผน
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน ดังนี้
2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.2 ขั้นสาธิต
2.3 ขั้นปฏิบัติจริง
2.4 ขั้นทดสอบ
3. ขั้นตรวจสอบและประเมินผล
3.1 ทดสอบสมรรถภาพทางการก่อนใช้กิจกรรมการละเล่น
3.2 ประเมินพฤติกรรมการทำงานของนักเรียน
3.3 ทดสอบสมรรถภาพทางการหลังใช้กิจกรรมการละเล่น
3.4 บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
3.5 เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
3.6 จัดทำรายงานผลการจัดการเรียนรู้
4. ขั้นนำการประเมินมาปรับปรุง
4.1 ปรับปรุงกิจกรรมบางกิจกรรมให้มีความยากง่ายให้เหมาะสมกับผู้เรียน
4.2 ปรับปรุงกิจกรรมที่นักเรียนไม่สามารถปฏิบัติได้
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษาที่ใช้กิจกรรมที่หลากหลาย
2. ได้การพัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3.ได้แนวทางในการฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้น มีระเบียบวินัย ในการเล่นกีฬา และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1. ผู้บริหารโรงเรียนให้การสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย
5.2 บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
5.3 นักเรียนมีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมเพราะเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานตื่นเต้น เร้าความสนใจ
ของนักเรียน
5.4 ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษาโดยใช้วิทยากรจากบุคคลภายนอกและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
6. บทเรียนที่ได้รับ
6.1 ทราบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขุนยวม
6.2 ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนขุนยวม
6.3 ได้เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขุนยวมเพื่อนำมาปรับใช้ในการบริหาร จัดการและวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพลศึกษาให้ได้มาตรฐาน
6.4 เพื่อเป็นการกระตุ้นและสนับสนุนให้นักเรียนออกกำลังกายกันมากขึ้น
6.5 ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์พลศึกษา และ ผู้ปกครองนักเรียน ได้ทราบถึงสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนและหาวิธีการปรับปรุง สนับสนุน การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น