ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es
เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษาค้นคว้า กรทิพย์ พึ่งประดิษฐ
กรม/ส่วนราชการ โรงเรียนหนองขมารวิทยาคม กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es เป็นชุดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการคิดและลงมือปฏิบัติจริง
ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจที่จะนำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es มาจัดกิจกรรม
การเรียน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนหนองขมารวิทยาคม จำนวน 32 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย (Simple Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มี 2 แบบ คือ แบบทดสอบย่อยก่อนเรียนและหลังเรียน เล่มที่ 1 - 8 เล่มละ 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.95 ค่าความยากง่าย (P) 0.24 ถึง 0.80 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.92 ค่าความยากง่าย (P) 0.20 ถึง 0.97 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.48 ถึง 0.71 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 87.89/85.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป นักเรียนต้องการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมสามารถพัฒนาการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ได้ ดังนั้นครูผู้สอนควรนำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 5Es ที่ผู้วิจัยค้นคว้าพัฒนาขึ้น ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น