ชื่อโครงการวิจัย รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียน
เทศบาล บ้านศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ผู้ศึกษา นางสาวสายสุดา ฤทธิยงค์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน เทศบาลนครขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินระดับคุณค่าของการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) ศึกษานิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ประชากรที่ร่วมศึกษาทั้งหมด 1,174 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน พนักงานครู จำนวน 30 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 450 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 150 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 630 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบปรับปรุง มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ จำนวน 2 ฉบับ สำหรับผู้บริหารและครู นักเรียน ผู้ปกครอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ Percentage)
ผลการศึกษาพบว่า
1) การประเมินระดับคุณค่าของการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากถึงมากที่สุด
2) ศึกษานิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระดับการเกิดพฤติกรรมอยู่ในระดับ มากที่สุด
3) การประเมินผลกิจกรรมของนักเรียนหลังการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน ระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับ มากที่สุด
โดยสรุปผู้บริหาร ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หลังการเข้าร่วมโครงการ ระดับการเกิดพฤติกรรมอยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งข้อสนเทศที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในการปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นต่อไป