ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาเอกสารประการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การปลูกหอมแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นายอดิศร องอาจ
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบ
การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร)
เรื่อง การปลูกหอมแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ระหว่างคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การปลูก
หอมแดง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี
ต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การปลูกหอมแดง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสามสบ ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(งานเกษตร) เรื่อง การปลูกหอมแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 เล่ม
แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(งานเกษตร) เรื่อง การปลูกหอมแดง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การปลูกหอมแดง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คือ 84.38/81.66
2. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) เรื่อง การปลูกหอมแดง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและวิเคราะห์ความก้าวหน้าปรากฏว่า
มีค่าคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยร้อยละ 42.67
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วย
เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
(งานเกษตร) เรื่อง การปลูกหอมแดง อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58