ชื่อเรื่อง กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ
กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้วิจัย นายสุภาพ คำวาง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร)
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นใน การสร้างกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อออกแบบและพัฒนากระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อทดลองใช้กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงราย โซนเหนือ จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ พัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทาง การศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 9 โรงเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( )ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสถิติ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนากระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นความต้องการจำเป็นในการพัฒนากระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ในภาพรวมมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2.กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และปัจจัยสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ 2) กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู (Process) 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการสร้างสรรค์ความตระหนัก ขั้นปฏิบัติ ทดลองใช้ ขั้นนิเทศ กำกับ ติดตามเชิงรุก ขั้นสรุปบทเรียนรู้ และขั้นขยายผลสู่ทุกชุมชน 3) การประเมินประสิทธิภาพ (Output) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ และความพึงพอใจ และ 4) การประเมินประสิทธิผล (Outcome) ได้แก่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา สถานศึกษา และกลุ่มเครือข่าย/ชุมชน และผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การทดลองใช้กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย 5 ขั้นตอน โดยขึ้นสร้างสรรค์ความตระหนัก ได้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหาร PLC และทีม PLC จำนวน 17 กลุ่ม กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประเด็นพัฒนา ออกแบบและกำหนดปฏิทินการขับเคลื่อน PLC ขั้นปฏิบัติ ทดลองใช้ ทีม PLC ได้ดำเนินกิจกรรมโดยวิเคราะห์ปัญหาการสอนและกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม/แผนการสอน การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้/การปฏิบัติกิจกรรม ข้อสรุปการแสดงความเห็นสะท้อนความคิดของทีม และข้อสรุปเพื่อการนำไปปรับปรุงแก้ไข ขั้นนิเทศ กำกับ ติดตามเชิงรุก ในรูปแบบการประชุมกลุ่ม ประชุมกลุ่มย่อย ประชุมสัญจร และนิเทศ ติดตามผลทางโทรศัพท์และโซเซียลมีเดีย ขั้นสรุปบทเรียนรู้ ได้จัดทำรายงานสรุปประสิทธิภาพ ประสิทธิผล องค์ความรู้ และบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงาน และขั้นขยายสู่ทุกชุมชน โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลงานกลุ่ม ประกวดผลงาน/นวัตกรรมดีเด่น ถอดบทเรียน จัดทำรายงานการวิจัย เพื่อเผยแพร่ในกลุ่มเครือข่ายฯ สถานศึกษาอื่นและหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง
4. ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพ พบว่า ในภาพรวมกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย 1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) มีทักษะและประสบการณ์ในการพัฒนากระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด 3) มีความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ภายหลังการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ จังหวัดเชียงราย พบว่ามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะและประสบการณ์สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีทักษะการคิด การคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา กระบวนการทำงานแบบกลุ่ม มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออกได้ดีขึ้น 2) ครูมีความรู้และทักษะในการผลิตสื่อการสอน ทักษะการสอน เทคนิควิธีการสอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานร่วมกัน เกิดการพัฒนาตนเอง 3) ผู้บริหารสถานศึกษามีกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของครูในโรงเรียน 4) สถานศึกษาเกิดคุณลักษณะชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มีครูมืออาชีพเพิ่มมากขึ้น มีคลังความรู้และนวัตกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา 5) เกิดศูนย์พัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของกลุ่มเครือข่าย ฯ จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ