บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มุ่งที่จะประเมินโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านบริบทของโครงการในของโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านปัจจัยนำเข้าโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี 3) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านกระบวนการโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี 4) เพื่อความสอดคล้องในด้านผลผลิตโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยใช้รูปแบบของการประเมินโครงการโดยใช้ ซิปโมเดล (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) มาเป็นหลักในการประเมินโครงการ ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 83 คน กลุ่มตัวอย่างใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี คือ กลุ่มผู้บริหาร มีประชาการ จำนวน 3 คน ใช้ประชากรทั้งหมด และกลุ่มครู กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ ข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ หาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์สรุปพรรณนาวิเคราะห์เป็นความเรียง
ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา
สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน คือ การประเมิน ด้านบริบท การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการประเมินโครงการส่งเสริมสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี จากผู้บริหาร และครูในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด คือ โครงการมีกิจกรรมที่ตอบสนองความสามารถทางวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ ให้กับนักเรียนทุกคน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ โครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หลักการที่กำหนดไว้ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนได้ อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ บริหารโครงการได้เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่จัดการแข่งขัน/ประกวดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนในการส่งเสริมให้นักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการมีความพอเพียงและเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมในโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีการนำผลการประเมินโครงการมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมระหว่างการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนได้รับรางวัล การยกย่อง ชมเชย เชิดชูเกียรติจากการเข้าร่วมการแข่งขัน/ประกวดทางวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้องเกิดความภาคภูมิใจในผลสำเร็จของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ อยู่ในระดับมาก