บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา ครูผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง จนสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่องไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่องไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนโนนกอกวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน เนื่องจากโจทย์ปัญหา เข้าใจยาก นักเรียนไม่ทราบความหมายของตัวแปร และความสัมพันธ์ที่มาของสูตรการคำนวณ ส่งผลให้ขั้นตอนการคิดไม่เป็นระบบ โดยเฉพาะเนื้อหา เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นที่ต้องอาศัยพื้นฐานคณิตศาสตร์ในการคำนวณ ทำให้นักเรียน ไม่สามารถคำนวณโจทย์ปัญหาได้ และส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่องไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ จำนวน 10 แผน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้ในการทดสอบหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก มีทั้งหมด 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.320.91 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
จากการศึกษา สรุปผลได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธี
แก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.98/78.59
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่องไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ มีค่าเท่ากับ 0.6562 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.62 ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 65.62
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในรายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กลวิธีแก้โจทย์ปัญหาเชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก