ชื่อผู้วิจัย:นายสายัน พับพิมพ์สัย
ปีการศึกษา :2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง
ทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ได้ตามเกณฑ์ .05 3) เพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสีชมพูศึกษา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รูปแบบการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง
ทวีปอเมริกาเหนือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบการใช้บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง
ทวีปอเมริกาเหนือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่าย เวลาที่ใช้ใน
การทดลอง จำนวน 14 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 82.06/81.75 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ มีค่าเท่ากับ 0.6134 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 61.34
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบนเครือข่าย เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกันโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านการออกแบบการสอน 2) ด้านการเก็บบันทึกข้อมูลและการจัดการ 3) ด้านคำแนะนำในการใช้บทเรียน และ 4) ด้านเนื้อหาบทเรียน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 3 ข้อ คือ อัตราเร็วในการนำเสนอเนื้อหา มีความเร็วสมํ่าเสมอได้มากที่สุด รองลงมา คือ บทเรียนช่วยแก้ปัญหาการเรียนไม่ทันเพื่อน และช่วยให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นตามลำดับ และอีก 17 ข้อ มีความพึงพอใจในระดับมาก