ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์)
โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา
ผู้ศึกษา นางจินดาภรณ์ พันธุรัตน์
ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง)
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา
ปีที่ศึกษาค้นคว้า ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มตัวอย่าง (Simple Random Sampling Unit) ตัวแปรที่ศึกษาคือ ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนโดยใช้ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ 1) ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัด การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา จำนวน 20 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าระดับความยากง่ายระหว่าง 0.20 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพ / และ การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent Group
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.76/81.14 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้ ชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์ แต่งแต้ม ศรัทธา อยู่ในระดับมาก ( = 4.21, S.D. = 0.08)