ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
ผู้วิจัย นางจงกล เขียนปัญญา
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม
ผู้วิจัย นางจงกล เขียนปัญญา
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนจากการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนจากการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาคม จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (Paired Sample t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1.ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้เทคนิค STAD สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
2. รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบคือ
1) หลักการของรูปแบบ
2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
3) กระบวนการและกิจกรรม
4) การวัดและประเมินผล
5) ผลป้อนกลับ
โดยมีกระบวนการและกิจกรรม ประกอบด้วย ขั้นเตรียม ขั้นสอน ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม และรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 86.52/87.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน หลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม โดยรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5.นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องคุณค่าเศษผ้าไหม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก