บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 5 แผน
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.56 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.63 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ( ) เท่ากับ 0.92 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ( ) เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.62/81.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7382
แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 73.82
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 6 สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้เสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นและเป็นที่พึงพอใจของนักเรียน จึงเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้