ชื่อผู้วิจัย นางเพ็ชรชุมพวง สุวรรณศรี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อารยธรรมโลกยุคโบราณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อารยธรรมโลกยุคโบราณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (3) ศึกษาผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อารยธรรมโลกยุคโบราณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 และ (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อารยธรรมโลกยุคโบราณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับศึกษาข้อมูลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อารยธรรมโลกยุคโบราณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (3) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (4) แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนแบบโครงงาน (5) หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับทักษะการทำงานร่วมกัน (6) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์สากล จำนวน 30 คน (7) ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ จำนวน 5 คน แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 คน (2) นักเรียนที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงสาหร่ายวิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ จำนวน 5 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันโดยใช้แบบ Scoring Rubrics มี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ และ (5) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) cc r
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม ที่เร้าความสนใจในการเรียน เน้นการปฏิบัติจริง เรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ทักษะตามลำดับขั้นตอน นำความรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นไปเชื่อมโยงในสาระการเรียนรู้ มีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยวิธีที่เน้นการประเมินจากการปฏิบัติจริง
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อารยธรรมโลกยุคโบราณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมี จำนวน 5 ชุด มีการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ได้ทดลองหาประสิทธิภาพ แบบเดี่ยว (One to One Testing) แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Testing) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.67/81.75 และภาคสนาม (Field Tryout) พบว่า ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ท่ากับ 80.48/81.64 ซึ่งค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่า (1) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.58/81.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6774 นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 67.74 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 78.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 75 ขึ้นไป)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย อารยธรรมโลกยุคโบราณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D.= 0.59)