ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวมณฑา กองสูงเนิน
สังกัด โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการ เรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ใน การวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้สอนนำรูปแบบไปจัดการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่านวิเคราะห์และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ซึ่งรูปแบบที่นำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนการสอนเทคนิค SQ4R ดังนี้ ขั้นที่ 1 สำรวจ (Survey - S) ขั้นการอ่านสำรวจ ขั้นที่ 2 ขั้นตั้งคำถาม (Question - Q) ในขั้นตอนนี้ผู้อ่านต้องตั้งคำถามก่อนอ่าน ระหว่างอ่านและหลังการอ่าน ขั้นที่ 3 ขั้นอ่าน (Read - R ) เป็นการอ่านเพื่อจับใจความหลักของสิ่งที่อ่านและจัดระบบข้อมูลขั้นที่ 4 ขั้นทบทวนอ่านซ้ำ (Record R) คือ การทบทวนอ่านซ้ำอย่างรอบคอบ ให้ผู้อ่านบันทึกข้อมูลที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ 3 บันทึกเฉพาะส่วนที่สำคัญและจำเป็น เป็นการบันทึกย่อ ๆ ตามความเข้าใจของผู้อ่าน โดยจดบันทึกสรุปใจความสำคัญของเรื่องด้วยภาษาของตนเอง ขั้นที่ 5 ขั้นบอกคำตอบอีกครั้ง (Recite - R) เป็นการสรุปเรื่องที่อ่าน ผู้อ่านอาจจะท่องใจความสำคัญของเนื้อหา ขั้นที่ 6
ขั้นไตร่ตรอง (Reflect - R) คือการวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้ง
ในประเด็นที่เห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย โดยใช้เหตุผลสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนนี้เป็นรูปแบบ
ที่วัดความสามารถของผู้เรียน โดยการทำแบบทดสอบย่อยแล้วนำคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบย่อย ซึ่งเมื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนรู้ ที่สร้างและพัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้อง และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ แบบกลุ่มภาคสนาม (Filed Tryout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล๔ (เพาะชำ) จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 84.13/84.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก