บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานการนิเทศครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
ปีที่ทำการศึกษา : พฤษภาคม 2559 - มีนาคม 2560
ชื่อผู้รายงาน : นายพงศธร ช่างปัด
หน่วยงาน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
การนิเทศครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy)สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของครูก่อนและหลังการอบรมโดยใช้ แนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) สำหรับ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังได้รับการอบรม ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) เพื่อศึกษาผลการนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน โรงเรียนที่มีผลการการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test: NT) ความสามารถด้านคำนวณ (Numeracy) คะแนนเฉลี่ยอยู่ระดับต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 35 จำนวน 33 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) สำหรับ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 เล่ม แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมจำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจหลังได้รับการอบรมของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ แบบนิเทศ ติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 37 ข้อ
สรุปผลการศึกษา
การนิเทศครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
1. คะแนนความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมโดยใช้แนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) สำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ( x̄ = 24.61, S.D. = 2.12) โดยภาพรวมสูงกว่าก่อนการอบรม ( x̄=18.70, S.D. = 4.39) โดยภาพรวมสูงกว่าก่อน การอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ความพึงพอใจหลังได้รับการอบรม ในภาพรวมของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแนวทางการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.03, S.D. = 0.62) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการนิเทศ ติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถพื้นฐาน ความสามารถด้านการคิดคํานวณ (Numeracy) ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมมีระดับ การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.29, S.D. = 0.67) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาทั้ง 2 ด้าน คือ 1. ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.90, S.D. = 0.59) เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า การเตรียมการจัดการเรียนรู้ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.01, S.D. = 0.63) รองลงมา คือ การวัดและประเมินผลผู้เรียน มีระดับ การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.86, S.D. = 0.60) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีระดับคุณภาพอยู่ ในระดับมาก ( x̄ = 3.86, S.D. = 0.51) ตามลำดับ และ 2. ด้านผลการเรียนรู้ของนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 3.83, S.D. = 0.64) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้