1.ชื่อปัญหาการวิจัย ผลการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในเรื่องอัตราส่วน และร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อำเภอลาดแค จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้สื่อการเรียนรู้ CAI
2. ปัญหาวิจัย ทำอย่างไรนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำในห้องเรียนปกติ จะสามารถมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน และร้อยละ สูงขึ้น
3.ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
2.1 เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในเรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และ
ร้อยละ โดยใช้สื่อการเรียนรู้ CAI
2.2 เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียน เรื่อง การแก้อสมการที่ซับซ้อนต่อไปได้
3.วัตถุประสงค์การวิจัย
3.1 เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในเรื่อง อัตราส่วนและร้อยละโดยใช้ CAI
3.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
3.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้สื่อ CAI
4.วิธีดำเนินการวิจัย
4.1 ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อำเภอลาดแค จังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน
4.2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อำเภอลาดแค จังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน
4.3 เครื่องมือการวิจัย
4.3.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา สื่อการเรียนรู้ CAI สื่อมัลติมีเดีย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ม.2 เรื่องอัตราส่วน และร้อยละ ผลิตโดยบริษัทสื่อนำศึกษา
4.3.2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบก่อนเรียนละหลังเรียน แบบวัดความ
พึงพอใจต่อกิจการเรียนรู้โดยใช้ CAI
4.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
ของนักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัย โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน CAI สื่อมัลติมีเดีย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ม.2 เรื่องอัตราส่วน และร้อยละ โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ อำเภอลาดแค จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 8 คน
4.5 สถิติที่ใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
4.5.1 หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และ
แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ CAI
4.5.2 หาค่าสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน t-test
dependent
5. สรุปการวิจัย
จากการวิจัยพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 4.38 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน เท่ากับ 1.41 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 9.63 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียน เท่ากับ 1.69 จะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อนำมาทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบ t-test dependent พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการสอบถามโดยใช้แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ CAI พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 4.28 ระดับคุณภาพ ดีมาก แสดงว่าการเรียนรู้โดยใช้ CAI เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตสาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ