ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อม
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาล
เมืองร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย นางพัชราภรณ์ พันธุโพธิ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีจำนวน 4 ห้อง รวมนักเรียนทั้งหมด 126 คน กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี ดังนี้ 1. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 แผน แผนละ 60 นาที 2. เกมการละเล่น เป็นเกมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในเรื่อง การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการบอกตำแหน่ง จำนวน 20 เกม 3. เกมการศึกษา เป็นเกมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในเรื่อง การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการบอกตำแหน่ง จำนวน 20 เกม 4. แบบฝึกทักษะ เป็นแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในเรื่อง การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการบอกตำแหน่ง จำนวน 20 แบบฝึกทักษะ 5. แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ 6. แบบทดสอบย่อย เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ วัดความพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มี 5 ฉบับ ฉบับละ 8 ข้อ และ 7. แบบทดสอบรวม เป็นแบบทดสอบที่เป็นแบบเลือกตอบวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ในเรื่อง การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการบอกตำแหน่ง เป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ มี 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อ
พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 พบว่า นักเรียนและทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาเกมการศึกษา โดยให้มีรูปแบบที่เหมาะสม วิธีการเล่นให้มีหลากหลายวิธี เวลาในการปฏิบัติกิจกรรม ที่นำมาพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ยังสอดคล้องกับหน่วยการเรียนการสอนหลักสูตร โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยเรื่องที่นำมาพัฒนาเกมการศึกษามีเนื้อหาจากความต้องการและความสนใจของนักเรียนเป็นสำคัญ ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนโดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 82.25/80.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เรื่องการเปรียบเทียบ
การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ และการบอกตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยรวมทั้ง 5 ด้าน แสดงว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 เพิ่มขึ้นทุกด้าน
4. ผลการประเมินและรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น
4.2 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การจำแนก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียนทำให้ผู้เรียนมีทักษะการจำแนกเพิ่มขึ้น
4.3 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การจัดหมวดหมู่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียนทำให้ผู้เรียนมีทักษะการจัดหมวดหมู่เพิ่มขึ้น
4.4 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ
การเรียงลำดับ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียงลำดับเพิ่มขึ้น
4.5 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทักษะ การบอกตำแหน่ง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนเรียนทำให้ผู้เรียนมีทักษะการบอกตำแหน่งเพิ่มขึ้น