การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล)
โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สัญญา โต๊ะหนู
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เป้าหมายยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ได้แก่คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล ใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และแสวงหาความรู้อย่างคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. มปป. หน้า 11)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2553 มาตรา 22ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพและมาตรา 24 ที่กล่าวถึง การฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกนและแก้ไขปัญหาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้สอนจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนอกจากนี้ในมาตรา 65 ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอีกด้วย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ได้กล่าวในหัวข้อสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล มีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและนักเรียนจะต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 6-7)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถนำความรู้ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตมาใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และแข่งขันในสังคมไทยและสากลสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551:180)และเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าและอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในทุกมุมโลกการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้มีเวลาในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้สอนกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ผู้สอนใช้เวลาในชั้นเรียนสำหรับทำกิจกรรมการเรียนการสอนอื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้มากขึ้น โดยเนื้อหาสาระที่จะศึกษาได้นำเสนอบนเว็บล่วงหน้าให้นักศึกษาได้อ่านแล้ว นับว่าเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ (โครงการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์, 2549 อ้างถึงใน ยุทธนา พิมพ์จักร, 2552 : 3-4) หนังสือจึงมิได้ถูกจำกัดเพียงแค่แผ่นกระดาษอีกต่อไปความพยายามที่จะให้มนุษย์ทุกคนเรียนรู้ได้จากทุกสถานที่และทุกเวลา (Anyone Anywhere Anytime) จึงได้รับความสำคัญเพื่อให้มนุษย์ทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจึงมีการพัฒนาหนังสือใหม่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์เพื่อเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตหรือผลิตซ้ำ(Reprint) และสามารถดาวน์โหลด (Download) เพื่ออ่านโดยใช้เครื่องอ่านเฉพาะหรือบนเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งหนังสือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้เรียกว่าอีบุ๊ค (e-Book) หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Book) ( ภรีภัทรหิรัญผลากร, 2557: 74 )
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เป็นสื่อนวัตกรรมที่ใช้เรียนจากคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาปัจจุบันเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่จะนำสื่อเข้าไปบรรจุในรูปแบบดิจิทัลทั้งนี้เพื่อลดข้อจำกัดจากการอ่านหนังสือปกติทั่วไปสามารถใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและการใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์รวมทั้งมีความยืดหยุ่นสนองความต้องการของผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่ซึ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีคุณค่าน่าสนใจชวนคิดชวนติดตามเข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้นรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีแสวงหาความรู้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งและต่อเนื่องตลอดเวลา (ดิลกเหล่าอุทธา, 2555: 2)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลาซึ่งสมบัติเหล่านี้ไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป (ไพฑูรย์ ศรีฟ้า, 2551:14)นอกจากนี้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถออกแบบและจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการรายบุคคลมีการอธิบายเนื้อหาบทเรียนให้เข้าใจง่ายขึ้นพร้อมกับเรียนแล้วสนุกเพลิดเพลินไม่เบื่อง่ายและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพบว่าผู้เรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันการรับรู้เนื้อหาของแต่ละคนไม่เท่ากันอีกทั้งจำนวนเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้มีอยู่จำกัดทำให้ผู้สอนต้องเร่งสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับเนื้อหาจนครบในแต่ละภาคเรียนส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลงครูที่สอนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการบรรยายนักเรียนทั้งชั้นพร้อมๆกันและใช้เวลาเพียงเล็กน้อยทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอนการใช้และพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามความสนใจ และช่วยทำให้นักเรียนที่เรียนช้าไม่ทันเพื่อนสามารถทบทวนความรู้ได้ด้วยตัวเองทำให้นักเรียนเห็นภาพและสามารถจินตนาการได้รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) มีนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาไม่น้อยกว่า 2,200 คน เฉลี่ยนักเรียน 35-40 คน/ห้อง เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา ได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัยจากต้นสังกัดอย่างครบถ้วน มีการติดตั้งเครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ทุกห้องเรียน มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนอย่างเพียงพอแต่ที่ผ่านมาครูยังไม่สามารถใช้สื่อเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่นักเพราะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของเมืองพัทยาที่ติดตั้งภายในโรงเรียนไม่เสถียร ขาดประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อสัญญาณ การสอนของครูจึงเป็นไปในรูปแบบเดิมๆ เหมือนตอนที่ยังไม่มีการติดตั้งเครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างคุ้มค่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงขาดความหลากหลาย ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเฉพาะในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระครอบคลุมกว้างขวาง
จากความสำคัญและสภาพปัญหาข้างต้นผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) เพื่อให้บทเรียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถที่จะทบทวนเนื้อหาได้ตามความต้องการและเพื่อนำไปประยุกต์กับศาสตร์วิชาอื่นๆให้แพร่หลายในวงการศึกษาต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
สมมติฐานในการวิจัย
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียอยู่ในระดับมาก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2.ได้ทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนจากสื่อการจัดการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนในการสร้างสื่อประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
4. ได้ทราบระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
5. เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองและช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจเรียนมากยิ่งขึ้น
6. ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ
วิธีการวิจัย
ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 181 คน จำนวน 5 ห้องเรียนซึ่งจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถ
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559จำนวน 79 คน จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม แล้วใช้วิธีสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยจับสลาก ได้กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มตัวอย่างที่1 ใช้หาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) จำนวน 38 คน
กลุ่มตัวอย่างที่2 ใช้หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และใช้หาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) จำนวน 41 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 เรื่อง
2. คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย จำนวน 9 แผน
4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย
4.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ 9 แผน จำนวน 9 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ
4.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ก่อนเรียนและหลังเรียนมีลักษณะเป็น แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ
5. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.1 การสร้างและการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทฤษฎีการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้แล้วนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวบรวมข้อมูลเนื้อหาจากหนังสือ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดขอบเขตในการจัดทำเนื้อหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ให้สอดคล้องกับเนื้อหาการเรียนออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จัดลำดับความสำคัญ ของเนื้อหาในการนำเสนอ โดยแบ่งเนื้อหาแยกออกเป็นแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน และเขียนสคริปต์ (Script) ส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากโปรแกรมสำเร็จรูป (โปรแกรม Flip Album) ให้ครอบคลุมเนื้อหา เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
1.2 วิธีการหาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการหาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน5ท่าน ตรวจสอบและประเมินโดยใช้ แบบประเมินความเหมาะสมของเนื้อหาและรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับนำคะแนนผลการประเมินมาหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 คน รวบรวมปัญหาที่พบนำมาปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มเดิม เพื่อหาข้อบกพร่องนำมาแก้ไขปรับปรุงในระดับกลุ่มย่อยแล้วนำไปทดลองภาคสนามกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/2 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559จำนวน 38 คนเพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามเกณฑ์ 80/80 ในการวิจัยครั้งนี้ ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E1/ E2) เท่ากับ 80.26/85.53 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แล้วจึงนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้จัดการเรียนรู้กับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559จำนวน 41 คนที่เป็นกลุ่มทดลองเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป
2. คู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ผู้วิจัยดำเนินการสร้าง ดังนี้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการสร้างคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นำคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสนอผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน โดยผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม เพื่อตรวจสอบและประเมินโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับนำคะแนนผลการประเมินมาหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยครั้งนี้ ผลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญในการหาค่าความเหมาะสมของคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.48) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.43) ซึ่งถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในระดับเหมาะสมมาก จากนั้นนำคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องแล้วนำไปจัดพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์
3. แผนการจัดการเรียนรู้ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 แผน เวลาการสอน 12 ชั่วโมง มีวิธีการขั้นตอนการสร้าง และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิด จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้จากนั้นหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistency : IOC) ขององค์ประกอบต่างๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้กับตัวชี้วัด โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5ท่านได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistency : IOC) เท่ากับ 0.89 แล้วนำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ปรับปรุงแก้ไขจุดประสงค์การเรียนรู้ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้กับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559จำนวน 41 คน
4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ตามขั้นตอนโดยศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิด จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อทราบวัตถุประสงค์และขอบข่ายเนื้อหา นำมาสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ 9 แผน จำนวน 9 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อและสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ มี 40 ข้อ รวมเป็น 10 ฉบับ แล้วนำข้อสอบที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน5ท่าน เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงจุดประสงค์ แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนี IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป นำมาจัดทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วนำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปทดลองสอบ (Tryout) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน40 คน นำผลการทดลองสอบมาหาค่าความยากง่าย (p) และมีค่าอำนาจจำแนก (r) แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตังแต่ 0.20 ขึ้นไป นำมาสร้างเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 10 ฉบับจากนั้นได้นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นทั้ง 10 ฉบับ ไปทดลองสอบกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน40 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน( Kuder Richardson) ของแบบทดสอบทั้ง 10 ฉบับหลังจากนั้นจึงนำแบบทดสอบที่ผ่านการหาคุณภาพแล้วไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
5. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้าง และพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน โดยมีลำดับขั้นโดยศึกษาเอกสารตำรา ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสอบถามความพึงพอใจและวิธีการสร้างแบบสอบถาม สร้างข้อคำถามที่เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ(Rating Scale) สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนแต่ละด้าน โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านๆ ละ 5 ข้อ คือด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบสื่อ ด้านการใช้งาน และด้านภาพรวม แล้วนำแบบสอบถามความพึงพอใจเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงจุดประสงค์ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และแสดงความคิดเห็น จากนั้นจึงนำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้จากการวิจัยอยู่ที่ 0.79 แล้วจึงนำข้อคำถามที่มีความสอดคล้องมาสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบทดลองหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน (One Group Pre-test, Post-test Design) ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการชี้แจงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแนะนำการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการอธิบาย
2. ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 40 ข้อ ตรวจให้คะแนนโดยตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน
3. ดำเนินการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) จำนวน 9 บทเรียน
4. หลังจากเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ครบทุกเนื้อหาบทเรียน ทำการทดสอบหลังเรียน (Post-test) ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 40 ข้อ และทำการตรวจ ให้คะแนนโดยตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน
5. ให้นักเรียนกลุ่มทดลอง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ครบทุกเนื้อหาบทเรียน ทำการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
6. รวบรวมข้อมูลจากการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
7. รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
8. บันทึกข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการเพื่อการวิเคราะห์ต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ความเหมาะสมของเนื้อหาและรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และความเหมาะสมของคู่มือการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) แปลความหมาย โดยใช้เกณฑ์การแปลความหมาย ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ซึ่งกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายของเบสท์
2. การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ค่าคะแนนที t-test (Dependent Samples)
4. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน โดยนำผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียมาหาค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจ โดยใช้ค่าเฉลี่ยเทียบกับเกณฑ์การประเมิน
สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือได้แก่ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากับจุดประสงค์IOC จากผู้เชี่ยวชาญการหาค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการหาค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน( Kuder Richardson)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการทดสอบt-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย
1. นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังแผนการจัดการเรียนรู้ระหว่างเรียน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.26 / 85.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
การอภิปรายผล
ผู้วิจัยมีประเด็นที่อภิปรายตามวัตถุประสงค์และสมมติฐาน ดังนี้
1. ผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังแผนการจัดการเรียนรู้ระหว่างเรียน และคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีประสิทธิภาพ (E1/E2) ได้เท่ากับ 80.26 / 85.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยดำเนินการศึกษาหลักการแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ทฤษฎีการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แล้วนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อย่างเป็นระบบได้ดำเนินการหาคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ก่อนนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไปใช้จัดการเรียนรู้กับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน ที่เป็นกลุ่มทดลอง ทำให้ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับ ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556: 7) ได้กล่าวว่า ประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน การผลิตสื่อหรือชุดการสอนนั้น ก่อนนำไปใช้จริงจะต้องนำสื่อหรือชุดการสอนที่ผลิตขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพเพื่อดูว่าสื่อหรือชุดการสอนทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์หรือไม่และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนในระดับใด ดังนั้น ผู้ผลิตสื่อการสอนจำเป็นจะต้องนำสื่อหรือชุดการสอนไปหาคุณภาพ เรียกว่าการทดสอบประสิทธิภาพสำหรับการผลิตสื่อและชุดการสอน สอดคล้องกับ วัชรี ไกรการ (2554: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง บรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.40/80. และสอดคล้องกับ จุฑามาศ ทรงช่วย (2556: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนไหวกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/85.57
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ทั้งนี้เนื่องจาก ผู้วิจัยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 แผน มีวิธีการขั้นตอนการสร้าง และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ คือ ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิด จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมาหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistency : IOC) ขององค์ประกอบต่างๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้กับตัวชี้วัดโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วนำผลที่ปรับปรุงแก้ไขจุดประสงค์การเรียนรู้ ไปทดลองใช้กับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุกูล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน ทำให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สอดคล้องกับทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism) พวงเพชร ศรีคิรินทร์ (2552: 25) ได้ให้คำจัดกัดความแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมว่าเป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาแนวหนึ่งที่เน้นตรงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อาศัยประสบการณ์เดิมกับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน โดยครูผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่เหมาะสมยอมรับและสนับสนุนความคิดเห็นของนักเรียน หลักการของ Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีรากฐานมาจากปรัชญาจิตวิทยาและการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อความหมายและการควบคุมกระบวนการสื่อความหมายในตัวตน ทฤษฎีความรู้นี้อ้างถึงหลักการ (Glasersfeld, 1989) คือ ความรู้ไม่ได้เกิดจากการรับรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างขึ้น โดยบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจ โดยแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนว Constructivism ถือว่าครูมีบทบาทเป็น ผู้อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนมโนคติ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ไกรรพ เจริญโสภา (2554: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)วิชาการพิมพ์ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0 5 สอดคล้องกับ วนรรษนันท์ เอียดเต็ม (2555) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
และสอดคล้องกับ วัชรี ไกรการ (2554: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง บรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจาก ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย โดยมีลำดับขั้นตอน คือ ศึกษาเอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสอบถามความพึงพอใจและวิธีการสร้างแบบสอบถาม เพื่อนำมาสร้างข้อคำถามที่เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แล้วนำแบบสอบถามความพึงพอใจ เสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงจุดประสงค์ ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) แล้วจึงนำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง จากนั้นจึงนำข้อคำถามที่มีความสอดคล้องมาสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จนได้รับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามที่ เฮอร์เบอร์ก (Herzberg, 1970:113 - 115) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีที่เป็นมูลเหตุทำให้เกิดความพึงพอใจ เรียกว่า Herzbergs Motivation Hygiene Theory ซึ่งกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยกระตุ้น (Motivation Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับงานซึ่งมีผลก่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน และปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานและมีส่วนทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจในการทำงาน และ สก็อต(Scott, 1970:124) ได้เสนอแนวคิดในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความพึงพอใจต่อการทำงานที่จะให้ผลทางปฏิบัติมีลักษณะคือ งานควรมีความสัมพันธ์กับความปรารถนาส่วนตัว งานจะมีความหมายต่อผู้ทำ งานนั้นต้องมีการวางแผนและวัดความสำเร็จได้ โดยใช้ระบบการทำงานและการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ได้ผลในการสร้างแรงจูงใจภายใน เป้าหมายของงานต้องมีลักษณะ คือ คนทำงานมีส่วนในการตั้งเป้าหมาย ผู้ปฏิบัติได้รับทราบผลสำเร็จจากการทำงานโดยตรง และงานนั้นสามารถทำให้สำเร็จได้ จากแนวคิดของสก็อต (Scott) สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย สามารถเร้าความสนใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเมื่อนักเรียนได้เรียนรู้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเรื่องแล้วนักเรียนจะได้ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ทำให้ทราบความสำเร็จทางการเรียนได้ในทันที ส่งผลให้ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับ จันจิรา อินภิไชย (2555: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องสมการและอสมการสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนพึงพอใจต่อหนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระดับมาก เพราะหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีคำอธิบายที่ชัดเจน โดยการอธิบายเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการอภิปรายวิธีหาคำตอบของสมการและอสมการ นอกจากนี้ สามารถศึกษาเนื้อหาไดอย่างอิสระโดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา สอดคล้องกับ รมยา สายัณเกณะ (2553: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง สารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดและความคงทนของผู้เรียนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหลังจากผ่านไปแล้ว 7 วันและ 30 วันนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ นูรมา ตาเละ (2558: บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาโปรแกรมตารางงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
1. ครูผู้สอนควรจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ร่วมกับจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
2. ครูผู้สอนควรปรับประสิทธิภาพโดยใช้เกณฑ์ 90/90 หรือ 95/95 ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย
3. ครูผู้สอนควรใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลายๆ แบบ เช่น แบบความเรียงหรืออัตนัย (Subject or Essay) แบบกาถูก-ผิด (True-False Test) แบบเติมคำ (Completion) แบบเลือกตอบ (Multiple Choice) แบบจับคู่ (Matching) แบบตอบสั้นๆ (Short Answer Test) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4.ครูผู้สอนควรสำรวจ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย โดยเปรียบเทียบกับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนอื่นๆ ที่นักเรียนเคยเรียนรู้มา
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ
1. ควรมีการศึกษาการพัฒนา การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับเนื้อหาสาระอื่นๆ หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อพัฒนาสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
และมีความหลากหลายครอบคลุมในทุกเนื้อหารายวิชา
2. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการจัดการเรียนรู้ทั้งก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
3. ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นรายด้าน เพื่อนำจุดเด่นจุดด้อยจากการศึกษาไปใช้พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นทียอมรับและมีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ไกรรพเจริญโสภา (2554). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) วิชาการพิมพ์ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จันจิรา อินภิไชย (2555). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องสมการและอสมการสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุฑามาศ ทรงช่วย (2556) การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนไหว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(มกราคม - มิถุนายน 2556), 7-20.
ดิลกเหล่าอุทธา.(2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการใช้โปรแกรมระบายสีใน Windows 7 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลมิตรสัมพันธ์วิทยาอำเภอวังน้ำเย็นจังหวัด สระแก้ว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์.
นูรมา ตาเละ.(2558). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาโปรแกรมตารางงาน สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. วารสารเทคโนโลยี การศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม ธันวาคม 2558.
พวงเพชร ศรีคิรินทร. (2552). การพัฒนามัลติมีเดียตามแนวคอนสตรัคติวิสตบนเครือขาย เรื่องงานและ พลังงานชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2550). E-Book หนังสือพูดได้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์ .
ภรีภัทรหิรัญผลากร. (2557,มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องงานเชื่อมไฟฟ้าเบื้องต้น ระดับมัธยมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษาคณะ ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 8, 72.
ยุทธนา พิมพ์จักร (2552). ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รมยา สายัณเกณะ. (2553). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วัชรี ไกรการ (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Glasersfeld, V.E. (1989). Constructivism in Education in the International Encyclopedia of
Education : Research and Studies. NewYork: Pergamen Press.