ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม
ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผู้วิจัย ทรงศักดิ์ กะตารัตน์
สถานที่ โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม 2)เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประชากรผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งหมด จำนวน 432 คน ได้แก่ 1) ครูโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม จำนวน 37 คน ซึ่งเป็นจำนวนครูที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2559 2) นักเรียนโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ปีการศึกษา 2559 จำนวน 340 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน 4) ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำนวน 4 ฉบับ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย (mu) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1.1 โดยใช้แบบสอบถามคณะครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อย ( mu =2.15)
1.2. โดยใช้แบบสอบถามนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อย ( mu =2.39)
1.3 โดยใช้แบบสอบถามคณะกรรมการฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อย ( mu =2.46)
1.4 โดยใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อย ( mu =2.37)
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 2 ส่วน
2.1 หลักการพื้นฐานของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
2.2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็คแทกการ์ท (Kemmis & McTaggart, 1988)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ใช้หลักการบริหารโดยโช้โรงเรียนเป็นฐาน ใช้หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) หลักการบริหารตนเอง (Self-management) หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อรูปการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า
4.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( mu =4.51)
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( mu = 4.13)
4.3 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานฯโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56)
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( mu =4.74)
4.5 ความพึงพอใจ โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ( mu =4.48)