บัวตูม เลิศศรี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้การภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมการคิดวิจารณญาณ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีการปฏิบัติโดยรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏ ว่ามีการปฏิบัติระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษ ด้านการเสริมทักษะการคิด
1ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
วิจารณญาณ ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษ
การประเมินการคิดวิจารณญาณ ส่วนความต้องการของครูผู้สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปได้ว่า ครูต้องการพัฒนาตนเองในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางสูงขึ้น ครูต้องการสื่อและอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ครูต้องการเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ต้องการให้ส่วนกลางและโรงเรียนปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้รองรับกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ และครูต้องการเวลาที่เพียงพอสำหรับการเตรียมการสอน ตามลำดับ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างการคิดวิจารณญาณนั้น จะต้องสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยกระบวนการเรียนรู้ควรประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การให้ผู้เรียนได้กำหนดเป้าหมายในการอ่าน ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม มีการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหรือนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคมโดยเน้นให้ผู้เรียนผลิตชิ้นงานหรือผลงานที่เป็นสิ่งของ เช่น การทำหนังสือเล่มเล็ก การทำป้ายประชาสัมพันธ์ จะทำให้นักเรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้และเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ และนักเรียนจะได้คิดแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และควรมีกระบวนการให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดกัน ได้วิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกันเพื่อให้ผู้เรียนคิดในหลายแง่มุม การค้นหาข้อมูลมาสนับสนุนเหตุผลของตนเอง จะนำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ควรให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงานและได้ประเมินตนเองหลังจากการทำกิจกรรมแล้ว
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ผลดังนี้
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ ในการเรียนรู้ต้องเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองอย่างชัดเจน และวางแผนการเรียนรู้ ใช้กระบวนการกลุ่มในการฝึกฝน เชื่อมโยงความหมายการอ่านกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของนักเรียน ฝึกฝนทักษะทางภาษาโดยใช้ภาษาอังกฤษการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ให้ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับในภาษาที่ถูกต้อง องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 องค์ประกอบที่ 3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ 2) ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม 3) เชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน 4) แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง และ องค์ประกอบที่ 4 ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นแนวปฏิบัติการจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายไม่เครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนมี
2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.41/77.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
บทนำ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในประชาคมโลกที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเจริญเติบโตทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นโลกไร้พรมแดน สารสนเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ
ซึ่งเป็นภาษาสากล ระบบการศึกษาของไทยในขณะนี้ต้องปฏิรูปและพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร รับรู้ และเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม
ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่างๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ภาษา
อังกฤษจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะภาษาอังกฤษเกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่างๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้ภาษาอังกฤษ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ ภาษาอังกฤษช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 190) ภาษาอังกฤษเป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้ภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจ
ในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม ด้วยความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศทำให้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ มีทักษะและศักยภาพในการจัดการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์ มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยม เป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2551: 6)
จากหลักการและจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังกล่าวจะเห็นว่าการจัดการศึกษาในวิชาภาษาอังกฤษมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิดและปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง หรือกำหนดขึ้นให้ผู้เรียนได้เผชิญกับสถานการณ์แล้วนำไปประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ ซึ่งสภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ในปัจจุบัน สนับสนุนให้สังคมทุกส่วนและทุกระดับ ได้พัฒนาเต็มศักยภาพ ส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี ตระหนักในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของทุกคน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมุ่งหวังให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจะมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์และหลักสูตรได้นั้นไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดได้โดยง่าย ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างนับตั้งแต่โครงสร้างของหลักสูตร ตัวหลักสูตร นักเรียน รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษาในการเรียนการสอนนั้นบุคคลที่มีส่วนในการชักจูงให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มีเจตคติทางภาษาอังกฤษ มีความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ มีทักษะกระบวนการทางภาษาอังกฤษและมีผลสัมฤทธิ์ในเชิงภาษาอังกฤษก็คือครูภาษาอังกฤษนั่นเองโดยครูภาษาอังกฤษจะต้องมีสมรรถภาพในการเป็นครูอย่างเหมาะสม 2 ประการคือ ด้านเนื้อหาวิชาทางภาษาอังกฤษและด้านวิชาชีพครู คณะอนุกรรมการการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผลิตครูภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี (สรศักดิ์ แพรดำ. 2544 : 1) การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีเน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็น ผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมหลากหลาย ทั้งกิจกรรมภาคสนามการสังเกตการสำรวจตรวจสอบ การทดลองในห้องปฏิบัติการ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและ ทุติยภูมิ การทำโครงงานภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นโดยคำนึงถึงวุฒิภาวะ ประสบการณ์เดิม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมต่างกันที่นักเรียนได้รับมาแล้วก่อนเข้าสู่ห้องเรียน การเรียนรู้ของนักเรียนจะเกิดขึ้นระหว่างที่นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทำกิจกรรมการเรียนเหล่านั้นจึงจะมีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางภาษาอังกฤษได้พัฒนากระบวนการคิดขั้นสูงและคาดหวังว่ากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเจตคติทางภาษาอังกฤษมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ มีเจตคติและค่านิยมเหมาะสมต่อภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีรวมทั้งสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจากคะแนน
การทดสอบระดับชาติ (O - Net) ปีการศึกษา 2555-2557 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่อยู่ในระดับต่ำมาก และผลจากการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 94 ที่ไม่สามารถอ่านภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้นักเรียนไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในทักษะที่ยากกว่าได้แก่การฟัง การพูด และการเขียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. 2558 : 7) จึงจำเป็นต้องทำการวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางและรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะบริบทและธรรมชาติของผู้เรียนมีความแตกต่าง จำเป็นต้องมีรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนดังที่ บอยน์ตัน (ลัดดา หวังภาษิต. 2557 : 6-7 อ้างอิงมาจาก Boynton. 2008: 105-109)) ได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไว้ว่า เด็กทุกคนมีแบบการเรียนรู้ความสนใจที่แตกต่างกัน ผู้สอนควรจะคำนึงถึงความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุความมุ่งหมายตามศักยภาพของตน การเรียนรู้ภาษาโดยการบูรณาการเนื้อหาเป็นการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยจัดให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยแบ่งตามช่องทางการรับรู้ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่ดีจึงต้องมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ต้องบูรณาการวัฒนธรรมใกล้ตัวผู้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างความสนใจในการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อติกานต์ ทองมาก (2552 : 23) ที่อธิบายถึงแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้บรรลุตามจุดประสงค์ของหลักสูตรมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ 1) ใช้เวลาในการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 2) บรรยากาศในชั้นเรียน มีส่วนสัมพันธ์กับการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ 4) ให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน 5) จัดกิจกรรมที่เอื้อต่อความสัมพันธ์ของผู้เรียน 6) ครูและผู้เรียนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและ 7) บรรยากาศในการสื่อสารใกล้เคียงสถานการณ์จริง และแนวคิดที่เป็นเป้าหมายการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร สามารถสรุปหลักการสำคัญได้ ดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิสัยทัศน์และเป้าหมายของหลักสูตรที่ต้องการปลูกฝังให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างต่อเนื่อง 2) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการฟัง พูด-อ่าน-เขียน ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 3) พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการตั้งคำถามและการให้เหตุผล ตลอดจนเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและมีจิตสาธารณะ 4) ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้า ฝึกฝนทักษะทางภาษาเพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียนด้วยตนเอง 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 190-191) เพราะฉะนั้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทำให้แนวคิดของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงต้องมีการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยและตอบสนองกับการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้เรียน
การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถด้านหนึ่งของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต เพราะบุคคลที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตจะต้องมีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผลพิจารณาข้อเท็จจริงและประเด็นปัญหาก่อนการตัดสินใจซึ่งจำเป็นต้องมีเจตคติในการแสวงหาความรู้ สามารถจำแนกข้อมูล นำความรู้มาอนุมานได้ตรงตามความเป็นจริง และถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้นครูผู้สอนทุกวิชาจึงจำเป็นจะต้องบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (วิจารณ์ พานิช. 2555 : 16-21) การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีหลากหลายวิธี เช่น การสอนโดยใช้คำถาม การสอนโดยการสืบค้น การสอนโดยใช้แผนที่มโนทัศน์ การสอนแบบปัญหาเป็นหลัก
การสอนแบบระดมความคิด การสอนแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนแบบสะท้อนความคิด การสอนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. 2556) ดังนั้น แนวทางการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงมีวิธีการสอนที่หลากหลาย เช่น การมอบหมายงานให้ผู้เรียน ค้นคว้า วิเคราะห์ สรุปและนำเสนอกระบวนการวิจัยและผลงานวิจัย ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดการเชื่อมโยงความรู้ เกิดแนวคิดใหม่ๆ ตลอดจนนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบนี้สามารถนำไปใช้ได้ทุกรายวิชาในหลายระดับการศึกษา (ทิศนา แขมมณี. 2550) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิจารณญาณ ต้องอาศัยความสามารถทักษะการคิดแกนเป็นพื้นฐาน ได้แก่ ทักษะการเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ทักษะการ วิเคราะห์ เช่น การแยกแยะสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน และการสรุป ย่อ การคิดวิจารณญาณเป็นเรื่องของการหาเหตุผล กิจกรรม การเรียนรู้จึงต้องเน้นการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการ หาเหตุผล และใช้เหตุผลมาสนับสนุนความคิดให้ถูกต้อง เที่ยงตรงมากที่สุด การฝึกให้นักเรียนมีความคิดวิจารณญาณ ทำให้นักเรียนสามารถคิดหาเหตุผล เข้าใจความแตกต่างของ คนในเรื่องของความเชื่อและความคิด รู้จักเรียนรู้จากคนอื่น แม้อยู่ในสถานการณ์ที่ขัดแย้งหรือตนเองไม่เห็นด้วย คนที่มี ความสามารถในการคิดวิจารณญาณ ทำให้คนๆ นั้นคิดได้ หลายๆ วิธี (โกวิท ฮุยเสนา และสมบัติ ท้ายเรือคำ. 2559 : 187) จากแนวคิดข้างต้นจะเห็นได้ว่า การพัฒนาการคิดวิจารณญาณต้องบุรณาการในกาเรียนทุกรายวิชาโดยเฉพาะเรื่องการอ่านภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนสามารถออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนอ่านแล้วคิดวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยกระบวนการกลุ่มซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้ทั้งความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้นและได้ฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ดังนั้น แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จึงมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายทางการเรียน การอ่านด้วยกระบวนการกลุ่มร่วมมือ การสร้างสรรค์ผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างวิเคราะห์วิจารณ์ และประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
จากความสำคัญของปัญหาและข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ และทักษะในการคิดให้สูงขึ้น ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษคนหนึ่งได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของผู้เรียน จึงสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขึ้น โดยมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในระดับที่สูงขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ
ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
3. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ
ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้
3.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ
สมมติฐานของการวิจัย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 216 คน แบ่งออกเป็น 6 ห้อง ซึ่งเป็นการแบ่งห้องเรียนแบบคละความสามารถนักเรียนแต่ละห้องมีพื้นฐานความรู้ไม่แตกต่างกัน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
ขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งสิ้น 70 คน จากนักเรียน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้โดยสุ่มวิธีการจัดการเรียนรู้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1.2.1 กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 34 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1.2.2 กลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมด 20 ชั่วโมง รวมระยะเวลา 5 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ถึง 12 ธันวาคม 2558
3. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ
ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
4. ตัวแปรที่ศึกษา
4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
4.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการดังนี้
1. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 75/75
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t test (Dependent Samples)
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้การทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ
t test (Independent Samples)
4. วิเคราะห์คะแนนความพึงพอใจของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเทียบกับเกณฑ์ 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด
ผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปผลการวิจัยดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีการปฏิบัติโดยรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏ ว่ามีการปฏิบัติระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษ ด้านการเสริมทักษะการคิด
วิจารณญาณ ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษ การประเมินการคิดวิจารณญาณ ส่วนความต้องการของครูผู้สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปได้ว่า ครูต้องการพัฒนาตนเองในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางสูงขึ้น ครูต้องการสื่อและอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ครูต้องการเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ต้องการให้ส่วนกลางและโรงเรียนปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้รองรับกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ และครูต้องการเวลาที่เพียงพอสำหรับการเตรียมการสอน ตามลำดับ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างการคิดวิจารณญาณนั้น จะต้องสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยกระบวนการเรียนรู้ควรประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การให้ผู้เรียนได้กำหนดเป้าหมายในการอ่าน ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม มีการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันหรือนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคมโดยเน้นให้ผู้เรียนผลิตชิ้นงานหรือผลงานที่เป็นสิ่งของ เช่น การทำหนังสือเล่มเล็ก การทำป้ายประชาสัมพันธ์ จะทำให้นักเรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้และเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ และนักเรียนจะได้คิดแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และควรมีกระบวนการให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดกัน ได้วิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกันเพื่อให้ผู้เรียนคิดในหลายแง่มุม การค้นหาข้อมูลมาสนับสนุนเหตุผลของตนเอง จะนำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ควรให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงานและได้ประเมินตนเองหลังจากการทำกิจกรรมแล้ว
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ผลดังนี้
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ ในการเรียนรู้ต้องเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองอย่างชัดเจน และวางแผนการเรียนรู้ ใช้กระบวนการกลุ่มในการฝึกฝน เชื่อมโยงความหมายการอ่านกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของนักเรียน ฝึกฝนทักษะทางภาษาโดยใช้ภาษาอังกฤษการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ให้ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับในภาษาที่ถูกต้อง องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 องค์ประกอบที่ 3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ 2) ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม 3) เชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน 4) แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง และ องค์ประกอบที่ 4 ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นแนวปฏิบัติการจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายไม่เครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนมี
2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.41/77.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
อภิปรายผล
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งผู้วิจัยสามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.41/77.35 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกระบวนการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีกระบวนการที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี เพราะได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายในการอ่านเพื่อความเข้าใจ 2) ฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม3) เชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน 4) แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง โดยระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายไม่เครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบสอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉลวย ม่วงพรวน (2553 : 234-244) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
โดยขั้นตอนการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ การสำรวจพฤติกรรมการอ่าน การเตรียมผู้เรียน การวางแผนการอ่านด้วยตนเอง และการประเมินการอ่าน และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กรรณิกา ประพันธ์ (2556 : 68-78) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 แนะนำสำรวจ (Introduction) ขั้นที่ 2 ตรวจความรู้เดิม (Experience) ขั้นที่ 3 เพิ่มความรู้ใหม่ (Exploration) ขั้นที่ 4 ใส่ใจฝึกอ่าน (Practice) ขั้นที่ 5 สร้างสรรค์ชิ้นงาน (Production) ขั้นที่ 6 ร่วมกันสรุป (Conclusion) ทั้งนี้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ มีกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างชัดเจนคือ การฝึกฝนทักษะการอ่านด้วยกระบวนการกลุ่ม การเชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน และการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ รวมทั้งการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเครียด เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ซ้ำหลายครั้งจากการฟังเพื่อน จากการเล่าให้เพื่อนฟัง และจากการสร้างสรรค์ผลงาน สอดคล้องกับแนวคิดของ แคลร์และเฮเนส (Clair; & Haynes. 1994 : 22-26) ที่อธิบายไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ควรจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องไม่รู้สึกเครียด กลัว หรือกังวล เพราะความเครียด ความกลัว หรือความกังวลจะลดความกระตือรือร้นของผู้เรียนในการเรียนรู้และรับรู้ภาษา ผู้เรียนจะเรียนภาษาได้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่ผ่อนคลาย มีความสุขในการเรียนรู้ มีคนคอยให้กำลังใจและเกิดการเรียนอย่างท้าทายในขั้นที่เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน ความท้าทายที่เหมาะสมและไม่ยากจนเกินไปจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จในการเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจและเรียนภาษาได้อย่างรวดเร็ว มีการทำให้เด็กรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน เช่น มีการร่วมนำเสนอผลงาน มีการเรียกชื่อ มีการยิ้มให้ผู้เรียน และสร้างกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีการทำให้เด็กรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน เช่น มีการร่วมนำเสนอผลงาน มีการเรียกชื่อ มีการยิ้มให้ผู้เรียน และสร้างกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
2. ผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นไปตามหลักการของรูปแบบที่กำหนดไว้ เนื่องมาจากนักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษ ได้ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน พร้อมทั้งมีการเรียนแบบกระบวนการกลุ่มด้วย โดยขั้นตอนในรูปแบบได้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยขั้นที่ 3 เชื่อมโยงความหมายจากเรื่องที่อ่านสู่ผลงาน ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และขั้นที่ 5 นำเสนอผลงานและประเมินตนเอง และระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในการค้นคว้าและฝึกฝนทักษะทางภาษาด้วยตนเอง การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน สอดคล้องกับแนวคิดของ แคลร์และเฮเนส (Clair; & Haynes. 1994 : 22-26) ที่อธิบายไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ควรจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องไม่รู้สึกเครียด กลัว หรือกังวล เพราะความเครียด ความกลัว หรือความกังวลจะลดความกระตือรือร้นของผู้เรียนในการเรียนรู้และรับรู้ภาษา ผู้เรียนจะเรียนภาษาได้ดีที่สุดในสถานการณ์ที่ผ่อนคลาย มีความสุขในการเรียนรู้ มีคนคอยให้กำลังใจและเกิดการเรียนอย่างท้าทายในขั้นที่เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของ
ฉลวย ม่วงพรวน (2553 : 234-244) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
พบว่า คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะด้านการเรียนด้วยตนเองก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านโดยคะแนนความเข้าใจในการอ่านและการใช้กิจกรรมการรู้คิดครั้งที่ 2-10 สูงกว่าคะแนนการอ่านครั้งที่ 1 คะแนนการอ่านครั้งที่ 10 สูงกว่าครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กรรณิกา ประพันธ์ (2556 : 68-78) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สามารถเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษา อังกฤษของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษา อังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มควบคุม ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้
1.1 จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถพัฒนาการเรียนรู้ด้านการเพื่อความเข้าใจและการคิดวิจารณญาณของนักเรียนได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จึงควรนำไปใช้จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ โดยศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบให้เข้าใจหลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และระบบสนับสนุนการเรียนรู้ แล้วจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามองค์ประกอบ
1.2 ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ควรสังเกต ดูแลนักเรียน
อย่างใกล้ชิด และให้คำแนะนำระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม ทำความเข้าใจและชี้แนะวิธีปฏิบัติ เน้นสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย มีความไว้วางใจกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนด้วยกันเองเพื่อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 ควรปฏิบัติตามหลักการของรูปแบบอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะการสร้างเจตคติที่ดี
ต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองอย่างชัดเจน การแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเครียด และการสะท้อนผลการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นกระบวนการที่ครูมักไม่เห็นความสำคัญจึงข้ามขั้นตอนเหล่านี้ แต่ถือว่าขั้นตอนเหล่านี้มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับการสอนตามรูปแบบอื่น เพื่อค้นหาวิธีการสอนที่เหมาะสมที่สุด
2.2 ควรพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมความสามารถด้านอื่นๆ ที่เป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้มีความทันสมัยและ
ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนได้มากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โกวิท ฮุยเสนา และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2559). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 12. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. (2556). การสอนนักศึกษาพยาบาลเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 19 (2) พฤศจิกายน-ธันวาคม 2556: นครราชสีมา.
พุทธารัตน์ ทะสา. (2554). การพัฒนาระบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้นิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. การบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธีสดศรี-
สกฤษดิ์วงศ์.
สุธาทิพย์ สุดหนองบัว. 2545. การพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โครงงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สรศักดิ์ แพรดำ. (2544). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2558). รายงานผลคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. ศรีสะเกษ. ฝ่ายวิชาการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรูของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, เอกสารประกอบการประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรูของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรูสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพี่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควน
สวรรค์ จังหวดตรัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ .
อารยา คำก้อน. (2552). ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการอ่านแบบบูรณาการชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Boynton. (2008). Content and Language Integrated Learning. California: University of California Press.
Claire, E. & Haynes, J. (1994). Classroom Teachers ESL Survival Kit 1. New Jersey. Prentice Hall.