เรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางธิดารัตน์ จันที
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านไผ่แสงทองประชาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านไผ่แสงทองประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร จำนวน 17 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 17 แผน
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.25 0.73 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.24 0.67
ค่าความเชื่อมั่น .91 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ
t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.65/84.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง
การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบฝึกทักษะทำให้ฉันสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น ( = 4.93) ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ฉันและเพื่อนได้ร่วมกันทำงานอย่างมีความสุข ( = 4.43)