ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางธิดา คีรีนารถ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ จังหวัดปัตตานี
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ จังหวัดปัตตานี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานด้วยชุดกิจกรรมปฏิบัติ ฮาลาล อาหารท้องถิ่นบ้านฉันแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วย t test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตรได้มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ แต่สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูยังใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน การใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิด แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลและใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังมีน้อย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า MPAPA Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เงื่อนไขในการใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติ ฮาลาล อาหารท้องถิ่นบ้านฉัน และการขยายผล ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอนคือ 1) กระตุ้น จูงใจ (Motivation : M) 2) การแสดงออกหรือการทำงาน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ตามกระบวนการต่างๆ ให้เสร็จสิ้น (Performance:P) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติงาน (Action : A) 4) นำเสนอผลงาน (Present : P) และ 5) ประเมินผลการเรียนรู้ (A: Assessment) โดยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมปฏิบัติ ฮาลาล อาหารท้องถิ่นบ้านฉันสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมและเป็นไปได้
3. ผลทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ จังหวัดปัตตานี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.29/82.16 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงาน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด