ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬา
โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
ผู้รายงาน นายภักดี ศิริพรรณ
ปีที่รายงาน 2559
สถานศึกษา โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬาโรงเรียนพระธาตุ
ขามแก่นพิทยาลัย ปีการศึกษา 2558มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ ด้านบริบทโครงการ (Context Evaluation) ด้านปัจจัยการดำเนินโครงการ (Input Evaluation)
ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ(Process Evaluation) และด้านผลการดำเนินโครงการ
(Product Evaluation) ได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดย Stufflebeam ซึ่งเป็นการประเมินวัตถุประสงค์และรายละเอียดต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ มีลักษณะเป็นแบบประเมินความก้าวหน้าเพื่อชี้จุดเด่น จุดด้อยของการดำเนินงาน ทั้งระยะก่อนการดำเนินโครงการ และเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารและครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัยปีการศึกษา 2558 จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (sd )
ผลการประเมินโครงการปรากฏดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) โครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬา ในภาพรวมตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.42) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มประชากรแล้วพบว่า ผู้บริหารและครูมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄ = 4.41) อันดับสองคือ ผู้ปกครองนักเรียน (x̄ = 4.86) และอันดับสามคือ นักเรียน (x̄ = 3.39)
2. ด้านปัจจัยดำเนินโครงการ (Input Evaluation) โครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬา ในภาพรวมตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มประชากร
แล้วพบว่า ผู้บริหารและครูมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄= 4.81) อันดับสองคือ ผู้ปกครองนักเรียน
(x̄= 4.48) และอันดับสามคือ นักเรียน (x̄= 4.08)
3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) โครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬา ในภาพรวมตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มประชากรแล้วพบว่า ผู้บริหารและครูมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄ = 4.87) อันดับสองคือ ผู้ปกครองนักเรียน (x̄ = 4.39) และอันดับสามคือ นักเรียน (x̄ = 4.19)
4. ด้านผลการดำเนินโครงการ (Product Evaluation) โครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬา ในภาพรวมตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.43) เมื่อพิจารณาตามกลุ่มประชากรแล้วพบว่า ผู้บริหารและครูมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̄ = 4.76) อันดับสองคือ ผู้ปกครองนักเรียน (x̄ = 4.42) และอันดับสามคือ นักเรียน (x̄ = 4.11)
โดยสรุปโครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬาโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย
ปีการศึกษา 2558 พบว่า โรงเรียนมีการสำรวจความต้องการ โดยกำหนดโครงการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณชัดเจน วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนผู้ปกครอง และชุมชน
การดำเนินการเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียน มีการกำหนดโครงการในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการที่ชัดเจนประกอบด้วยผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบและกำหนดหน้าที่ชัดเจน โรงเรียนมีงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการอย่างเพียงพอ
มีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน มีการกำกับ ติดตามดูแลการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน มีการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงาน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะกรีฑาและทักษะกีฬาตะกร้อที่สูงขึ้น นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งสองชนิดกีฬาได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับต่างๆ เพียงพอกับศักยภาพของนักเรียนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการส่งเสริมศักยภาพด้านการฝึกทักษะกีฬาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ทั้งสองชนิดกีฬาประสบความสำเร็จ
จากการแข่งขันระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ควรมีการดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์ฝึกกรีฑาและกีฬาของโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนด้านกีฬา พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
และสติปัญญา ตลอดจนนักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และเกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
อันจะส่งผลให้นักเรียนเป็นพลเมืองดีของสังคมชุมชนและประเทศชาติต่อไป