ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน ด้วยเทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิด
วิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายวัลลภ นาสมบัติ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4. เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ โดยใช้ t-test dependent Samples ผลการวิจัย พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.04/82.17
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.51; S.D. = 0. 01) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ลำดับขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่สับสนและต่อเนื่อง (x̄ = 4.70 ; S.D. = 0.47) นักเรียนสามารถศึกษาเนื้อหาในแต่ละเรื่องจนเข้าใจได้ด้วยตนเอง และสามารถทบทวนเนื้อหาได้ใหม่จนพอใจ ( x̄ = 4.65 ; S.D. = 0.49) นักเรียนได้คิด วิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( x̄ = 4.60 ; S.D. = 0.50) และนักเรียนรู้สึกตื่นเต้นในการร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R โดยใช้แบบฝึกทักษะ ( x̄ = 4.60 ; S.D. = 0.50)