ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง การประยุกต์สถานการณ์ วิชาคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย วิราพร สายปาน
หน่วยงาน โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง การประยุกต์สถานการณ์
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริม
ทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง การประยุกต์สถานการณ์ วิชาคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง การประยุกต์
สถานการณ์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อ
การเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
เรื่อง การประยุกต์สถานการณ์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
การดาเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการทดลองได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนปรางค์ทองวิทยา อาเภอคง จังหวัด
นครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จานวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม
(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 5 ชนิด ประกอบด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จานวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จานวน 8 แผน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จานวน 40 ข้อ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
จานวน 8 สถานการณ์และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จานวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า 1 E / 2 E ตามเกณฑ์มาตรฐาน
75/75 การทดสอบค่าที (t-test dependent samples) และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ใช้ค่าเฉลี่ยและ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า
1.1 สภาพการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ของครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การสอนโดยยึดเนื้อหาเป็นสาคัญและพยายามสอนให้จบเนื้อหา ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ สอนให้นักเรียนจาสูตร หลักการ และวิธีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแสวงหาทางเลือก
ในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายมีค่าเฉลี่ยต่าสุด ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับมาก 3 อันดับ มากที่สุด คือ 1) นักเรียนมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต่ามาจากโรงเรียนเดิม 2) นักเรียนขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย ไม่กล้าแสดงออก และ 3) นักเรียนขาดความรู้และทักษะที่จาเป็นตามหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวมมีปัญหามาก 3 อันดับ มากที่สุด คือ 1) ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน 2) ครูขาดนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ครูขาดการพัฒนาเทคนิคการสอนแบบใหม่ ๆ
1.3 ความต้องการของครูในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากความถี่ที่ครูเลือก 3 อันดับมากที่สุด คือ 1) ต้องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่ทันสมัย 2) ต้องการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ๆ อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้สามารถนาไปใช้ได้จริง และ
3) ต้องการสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัยเหมาะสมและเพียงพอ
1.4 ข้อเสนอแนะของครูผู้สอนในการแก้ปัญหาจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ 3 อันดับแรก คือ 1) ควรจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้เรื่อง เทคนิคการสอนวิธีการและเทคนิคการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร อบรมวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อนและสอนเสริมนักเรียนที่เรียนเก่ง 2) ครูควรใช้นวัตกรรมการสอนทั้งสื่อและเทคนิคการสอนประกอบการสอน เพื่อให้นักเรียนสนใจ เข้าใจในหน่วยการเรียน สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันมากขึ้น และ 3) จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง การใช้และผลิตสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิธีเลือกใช้สื่อให้เหมาะกับวิชาการใช้สื่อที่หาง่ายในท้องถิ่น
1.5 ปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 3 อันดับแรก คือ 1) ครูสอนจริงจังไม่ใช้สื่อในการสอน ให้ทาแบบฝึกหัดส่งทุกครั้ง ทาให้เครียด ข้อสอบยากเกินไป 2) ไม่ชอบคณิตศาสตร์ เรียนไม่รู้เรื่อง ทาให้ไม่อยากเข้าเรียน ไม่ตั้งใจเรียน และ 3) ครูสอนเร็ว ไม่น่าสนใจ
ตามไม่ทัน เรียนไม่รู้เรื่อง และไม่อยากเรียน
1.6 ความต้องการของนักเรียนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข 3 อันดับแรก คือ 1) ควรมีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ 2) ครูควรมีสื่อการสอนที่หลากหลายเพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ 3) ครูควรทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะสอนเรื่องต่อไป
1.7 การทดสอบวัดสมรรถภาพทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน ส่วนค่าเฉลี่ยต่าสุด คือ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา
2. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง การประยุกต์สถานการณ์ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ ( 1 E ) ได้ค่าประสิทธิภาพ 80.17 และผลการ
ประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ ( 2 E ) ได้ค่าประสิทธิภาพ 81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ที่กาหนดไว้คือ 75/75
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่
ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง การประยุกต์สถานการณ์ วิชาคณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าหลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง การประยุกต์สถานการณ์
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด__