ผู้วิจัย นางลักขณา บุตรยุทธ
สถานที่ โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียน เรื่องพุทธธรรมนำชีวิตและสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียน เรื่องพุทธธรรมนำชีวิตและสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้ชุดการเรียน เรื่องพุทธธรรมนำชีวิตและสังคม กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิตและสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียน เรื่อง พุทธธรรมนำชีวิตและสังคม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมุติฐาน ใช้ t-test (pair)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียน เรื่องพุทธธรรมนำชีวิตและสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา มีประสิทธิภาพ 83.32/82.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.70 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70
2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียน ที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียน เรื่องพุทธธรรมนำชีวิตและสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียน เรื่องพุทธธรรมนำชีวิตและสังคม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.26