ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม
ผู้วิจัย ราตรี ฉวีวงค์
สถานที่ โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม 2)เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียน หัวเรือพิทยาคม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 1) ครูโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม จำนวน 37 คน ปีการศึกษา 2559 2) นักเรียนโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ปีการศึกษา 2559 จำนวน 403 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน 4) ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 3) คู่มือประกอบการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 4) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียน เป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม มีดังนี้
1.1 ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า งานวิชาการถือเป็นงานหลักในการบริหารโรงเรียน มีขอบข่ายที่ชัดเจน การบริหารงานวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและควรเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
1.2 ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานวิชาการ ใช้แบบสอบถามคณะครู พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.61) ใช้แบบสอบถามนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.68) ใช้แบบสอบถามคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.09) ใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.12)
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 3)การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของ เคมมิส และแม็คแทกการ์ท (Kemmis & McTaggart, 1988)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม รอบที่ 1 ระหว่าง 16 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน 2559 ประชุม เพื่อสรุปผล อภิปรายและหาข้อค้นพบ ในวันที่ 30 กันยายน 2559 และรอบที่ 2 ระหว่าง 1 พฤศจิกายน 2559 31 มีนาคม 2560 ประชุม เพื่อสรุปผล อภิปรายผลในวันที่ 31 มีนาคม 2560 พบว่า
3.1 การปฏิบัติงานตามแนวทางภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ พบว่า ระบบของฝ่ายวิชาการมีความชัดเจน การทำเอกสารวิชาการครบถ้วน สามารถดำเนินงานตามกรอบงานวิชาการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวัดผลและประเมินผล มีระบบมีการบริหารจัดการที่ถูกต้องและมีประสิทธิ์ภาพ การดำเนินงานแนะแนวในโรงเรียนสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการศึกษาต่อ
3.2 การฝึกให้เกิดภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ประกอบด้วย การจัดองค์กรเพื่อการ
การวางแผนองค์กรเพื่อการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารการเรียนการสอน การจัดโครงการพัฒนาบุคลากร และการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
3.2 ผลจาการดำเนินงานตามการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้กระจายอำนาจไปที่ฝ่ายทั้ง 4 ฝ่าย ทำให้แต่ละฝ่ายทำงานได้สะดวก รวดเร็วมากขึ้น ลดข้อขัดแย้งในประเด็นต่าง ๆ ลงได้ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในแต่ละฝ่ายมากขึ้น เพราะสามารถปรึกษาหารือและตัดสินใจใน การทำงานได้ด้วยตนเองมากขึ้น แต่ละฝ่ายมีการแบ่งงานรับผิดชอบที่ชัดเจน แต่ทำงานในรูปของ การบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
4. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ แบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม พบว่า
4.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.06)
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07)
4.3 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.43)
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( =4.62)
4.5 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก
( =4.29)