ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม
ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผู้วิจัย เพ็ญศรี จันทร์พาหิรกิจ
สถานที่ โรงเรียนงัวบาวิทยาคม ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 1) ครูโรงเรียน งัวบาวิทยาคม จำนวน 24 คน ปีการศึกษา 2559 2) นักเรียนโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ปีการศึกษา 2559 จำนวน 320 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน 4) ผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 3) คู่มือประกอบ การดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 4) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือ การดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ จากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนงัวบาวิทยาคม พบว่า การศึกษาสภาพและปัญหา โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบขอบข่ายของงานวิชาการ 7 ขอบข่าย ผู้นำทางวิชาการ การพัฒนาทีมงานวิชาการในสถานศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และผลการศึกษาสภาพและปัญหาโดยใช้แบบสอบถาม ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.47) ความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.30) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.50) ความคิดเห็นของผู้ปกครองอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.72)
2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบข่ายของงานวิชาการ 2) ผู้นำทางวิชาการ 3) การพัฒนาทีมงานวิชาการ ในสถานศึกษา 4) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับขอบข่ายวิชาการอยู่ในระดับ มาก ( =4.12) ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน อยู่ในระดับ มาก ( =4.15) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานวิชาการ อยู่ในระดับ มาก ( =4.08) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับ มาก ( =4.18) และผล การประเมินความเหมาะสมของคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบฯ พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ( =4.04)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า รอบที่ 1 วันที 16 พฤษภาคม 30 กันยายน 2559 ประชุมสรุปผลในวันที่ 30 กันยายน 2554 และรอบที่ 2 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 31 มีนาคม 2560 ประชุมเพื่อสรุปผลในวันที่ 24 มีนาคม 2560 พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ได้ดำเนินตามกิจกรรมย่อยดังนี้ การจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การวางแผนองค์กรเพื่อการสอน การพัฒนาหลักสูตรและการบริหารการเรียนการสอน การจัดโครงการพัฒนาบุคลากร การวัดและประเมินผล การเรียนการสอน 2) การทำงานเป็นทีมงานวิชาการ ฝึกทักษะ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การรับรู้และค้นหาปัญหา การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนปฏิบัติการ การนำแผนไปปฏิบัติ และ การประเมินผลลัพธ์ 3) ผลการปฏิบัติงานตามแนวทางภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ ได้แก่ การวางแผนงานวิชาการ การบริหารงานวิชาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน การแนะแนวการศึกษา และการประเมินผล
4. ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนงัวบาวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า 1) ความพึงพอใจ ของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.23) 2) ความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.36) 3) ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.53) 4) ความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.59) 5) ความพึงพอใจ โดยภาพรวมความอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.43)