ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษา เป็นตัวจักรสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ได้ประชากรที่มีคุณภาพนั้น ประชากรในประเทศต้องได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง จึงจะส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552, หน้า 1) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดศึกษาระดับปฐมวัย โดยใช้มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยเป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับสถานศึกษาในทุกสังกัด รวมทั้งท้องถิ่น เอกชน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ดูแล และติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษามาตรฐานการศึกษาปฐมวัยด้านสติปัญญา คือ มาตรฐานที่ 4 เด็กสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนาเด็กอย่างเป็น องค์รวมในทุกด้าน แนวการจัดประสบการณ์และกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ เด็กปฐมวัย ครูผู้สอนมีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก โดยเป็นผู้สนับสนุน ชี้แนะและเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ยึดหลักการบูรณาการการเรียนรู้ผ่านการเล่นโดยผ่านกิจกรรมหลากหลาย เช่น การสนทนา การอภิปราย การสาธิต การทดลอง การเล่านิทาน การร้องเพลง การเล่นบทบาทสมมุติ การท่องคำคล้องจอง การศึกษานอกสถานที่ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ครูผู้สอนสามารถเลือกจัดได้ตามความต้องการความสนใจ สอดคล้องกับ จิตวิทยาพัฒนาการ สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก คือ ได้ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้ผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5 เกิดประสบการณ์ตรงที่มีความหมายต่อตัวเด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น มีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546, หน้า 3 - 6)
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546, หน้า 3) ได้กำหนดปรัชญาการศึกษาไว้ดังนี้คือ การศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี บน พื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดู และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรม ที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้อ อาทรและความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิต ให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม นอกจากปรัชญาการศึกษาดังกล่าว หลักสูตรการศึกษา ปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546, หน้า 9) ยังได้กำหนดจุดหมายของหลักสูตรซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้ว่า เมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัย เด็กจะต้องบรรลุ ตามมาตรฐานด้านการมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์จึงถือเป็นภารกิจที่ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต้องตระหนักในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์
ความมุ่งหมายที่สำคัญยิ่งของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยคือ การส่งเสริมให้เด็กรู้จักการสังเกต มีไหวพริบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถที่จะแสดงออก และชื่นชมต่อความ ไพเราะและสิ่งสวยงามต่าง ๆ เป้าประสงค์อีกประการหนึ่งคือ การพัฒนาตัวเด็กทั้งในด้านการพัฒนาตนเองและสังคม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางศิลปะให้แก่เด็ก จะช่วยพัฒนาเด็กไปสู่เป้าประสงค์ดังกล่าวโดยกิจกรรมทางศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสร้างสรรค์ การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนในช่วงวัยนี้ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว (สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา, 2551, หน้า 56) สมองของเด็กปฐมวัยอยู่ในระยะของการรับประสบการณ์ โดยสมองซีกขวาจะทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้ และทำความเข้าใจในด้านศิลปะ และการสร้างสรรค์ (สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพ และนวัตกรรมการเรียนรู้, 2550, หน้า 3 4) การแสดงออกทางศิลปะของเด็กทำให้ผู้ใหญ่ได้เข้าใจความหมาย ความรู้สึกนึกคิด และความต้องการของเด็ก ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กปฐมวัยยังไม่พร้อมที่จะพูด ฟัง อ่าน และเขียนเช่นเดียวกับเด็กประถมศึกษา แต่เด็กปฐมวัยจะอาศัยศิลปศึกษาเป็นเครื่องมือสื่อสารถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ และแสดงความต้องการดังกล่าวออกมาในลักษณะของการวาดภาพ นอกจากนี้กิจกรรมทางศิลปะอื่น ๆ อาทิเช่น การปั้น การพับ ตัด ฉีก ปะ และการประดิษฐ์ ยังมีส่วนช่วยสร้างเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ มีความละเอียดลออ ประณีตเรียบร้อย และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ศิลปศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะเตรียมสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
เด็กปฐมวัยถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ ที่ควรได้รับการสร้างเสริม ให้มีความพร้อมสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีความรักความชื่นชมยินดี และเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม การปูพื้นฐานให้เด็กมีความพร้อมสมบูรณ์ และมีพฤติกรรมดังที่พึงประสงค์ด้านความคิดสร้างสรรค์นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่เยาว์วัยโดยการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546, หน้า 26 - 27) ดังนั้น การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย จะไม่จัดเป็นรายวิชาแต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการโดยผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวันมีทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา โดยทุกกิจกรรม ต้องมีสื่อเพื่อช่วยให้เด็กได้รับ ประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่รอบตัวตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2549, หน้า 32 - 33)
ศิลปะ เป็นศาสตร์ที่มุ่งเป้าหมายไปที่กระบวนการเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ การแสดงออก และการรับรู้เกี่ยวกับความงาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางศิลปะให้แก่เด็กจึงต้องสนองตอบ ต่อความต้องการของเด็ก ซึ่งเป้าหมายอันสำคัญยิ่งจากการเรียนศิลปะที่เด็กควรได้รับ ก็คือ ความมั่นใจในตัวของเด็กเอง และการมีเสรีภาพในการแสดงออก การได้พัฒนาด้านศิลปะ และความสามารถสร้างผลงานที่ดีได้ แต่การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กต้องมีความเข้าใจในตัวเด็ก ศิลปะเด็กส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับศิลปศึกษา ซึ่งจำเป็นที่ผู้สอนศิลปะเด็ก จะต้องฝึกฝนทักษะทางศิลปะ ควบคู่กับการศึกษาหลักจิตวิทยาพัฒนาการทางศิลปะเด็ก ธรรมชาติของเด็ก และรู้หลักในการเลือกกิจกรรมศิลปะได้เหมาะสมกับวัย และความสามารถของเด็ก อีกทั้งรู้จักใช้หลักจิตวิทยาในการสอนศิลปะเด็ก ซึ่งแก่นแท้ของการจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้แก่เด็กจะเน้นอยู่ที่กระบวนการทำงานมากกว่าผลของงาน (จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี, 2553, หน้า 2) ซึ่งเป็นการฝึกฝนให้เด็กได้กล้าคิด กล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เพราะเป็นการดึงเอาศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ของประเทศชาติออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสให้ประเทศชาติพัฒนา และเจริญก้าวหน้าได้มากเท่านั้น (จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี, 2553, หน้า 8) ทั้งนี้เนื่องจาก ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถที่จะส่งเสริมและพัฒนาได้ เพราะความคิดสร้างสรรค์เป็นพฤติกรรมที่ได้รับการเอาใจใส่ตั้งแต่เยาว์วัย จากการจัดการเรียนการสอน ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม ต่างมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์มากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เด็กได้รับ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3 6 ขวบ เป็นช่วงวัยที่มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ สูงที่สุด เพราะเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้ทักษะการวางแผนด้วยการเลียนแบบบทบาทของผู้ใหญ่ หรือผู้ใกล้ชิด มีความอยากรู้ อยากเห็น และพยายามที่จะค้นหาความจริง สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ ห่างไกลกันได้ หรือความสัมพันธ์กัน ความมั่นใจและความเชื่อมั่นจะพัฒนาได้มากหรือน้อย สามารถทำได้ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะ (Torrance, 1964, หน้า 88) ที่เน้นการปฏิบัติ การ ฝึกฝนตามขั้นตอนที่ถูกวิธี อันจะส่งผลถึงแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี เพราะศิลปะเป็นศาสตร์ที่มุ่งเป้าหมายไปที่กระบวนการเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ และการรับรู้เกี่ยวกับความงาม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546, หน้า 2) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เด็กทุกเพศ ทุกวัย ได้มีโอกาสแสดงออกในรูปของจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนธรรมชาติก็ได้เพราะศิลปะ เป็นการเรียนรู้ที่หลากหลายที่เด็ก ๆ ได้ลงมือปฏิบัติจริงจากการสังเกต และทำความเข้าใจแล้วสะท้อนออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดออกมานั้นยังไม่ถูกสัดส่วนที่เป็นจริงอันเนื่องมาจากวุฒิ ภาวะของเด็ก ซึ่งกิจกรรมศิลปะเป็นรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ครูควรตระหนักถึงปัญหาที่ต้องได้รับการพัฒนา และทำการศึกษาค้นคว้าวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม ด้วยเหตุที่เด็กทุกคนมีขีดชั้นความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ ในด้านศิลปะแตกต่างกัน แต่เด็กแต่ละคนก็สามารถที่จะพัฒนาได้ ภายในขอบเขตของความสามารถของตน เด็กปฐมวัยเป็นเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ และต้องการที่จะแสดงออกทั้งด้านความคิด และความรู้สึก ศิลปะเป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงออกของเด็ก เด็กหาโอกาสที่จะแสดงออก ด้วยการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก และความเข้าใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ และจินตนาการของเด็กแต่ละ ดังนั้นครูผู้สอนจึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ถึงแม้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ จะมี อยู่ในตัวเด็กทุกคนแล้วก็ตาม แต่ถ้าหากเด็กไม่ได้รับการกระตุ้น ยั่วยุ และขาดการแนะนำที่ถูกวิธี หรือถูกสกัดกั้นทางความคิดแล้วการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จะเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ทำให้เด็กไม่ สามารถนำความคิดไปใช้แก้ปัญหาในโอกาสต่อไปได้ (จักรพงศ์ สุวรรณรัศมี, 2553, หน้า 10)
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย สามารถจัดได้หลายกิจกรรม อาทิเช่น กิจกรรมการวาดภาพ กิจกรรมระบายสี กิจกรรมฉีก ตัด ปะกระดาษ กิจกรรมพับกระดาษ กิจกรรมงานประดิษฐ์ และงานปั้น กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้ารู้จักเลือกจัดให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ และพัฒนาการเด็กแล้ว จะทำให้เด็กมีความคิด ความเข้าใจ และเกิดทักษะทางกระบวนการด้านความคิดสร้างสรรค์ แต่สภาพปัจจุบันการเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ สภาพ ความต้องการของเด็ก พัฒนาการเด็ก และสภาพแวดล้อมท้องถิ่น ยังพบว่ามีปัญหาอยู่มาก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ตัวครู นักเรียน และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ในการเลือกกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัย สภาพความต้องการของเด็ก พัฒนาการเด็กและสภาพแวดล้อมท้องถิ่น พบว่า มีปัญหา และอุปสรรคมากจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2551, หน้า 56) ได้แก่ 1) ด้านปรัชญาการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่ไม่เน้นการจัดประสบการณ์ ตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ทำให้เด็กขาดโอกาสที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ ภาษา และการคิด จากการจัดกิจกรรมศิลปะ 2) ด้านตัวครู ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก ครูเน้นความสวยงาม ความเรียบร้อยของงานมากกว่าการประเมินพัฒนาการทางศิลปะของเด็ก 3) ด้านสภาพแวดล้อม และวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่สามารถจัดกิจกรรมศิลปะเด็กได้หลากหลาย เช่น สภาพห้องเรียนที่มีเด็กมากเกินไป ความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ และสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย
ปัจจุบันการจัดการศึกษาปฐมวัยด้านสติปัญญาได้กำหนดให้มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แต่จากการศึกษางานวิจัย และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ยังมีความคิดสร้างสรรค์ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจถึงแม้ว่าจะมีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทุก ๆ วันที่ปรากฏอยู่ในตารางประจำวันหรือตารางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบก็ตามและนอกจากนี้ (ทน เขตกัน, 2550, หน้า 11) การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ยังขึ้นอยู่กับการจัดบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพราะการจัดบรรยากาศให้มีลักษณะที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น ความเหมาะสมกับ ระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และความถนัดในการเรียนของเด็กนั้นเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาความคิด มีอิสระในการคิดสิ่งแปลกใหม่ คิดสิ่งที่มีประโยชน์ คิดในสิ่งที่เด็กสามารถกระทำได้ และควรมีส่วนกระตุ้นให้เด็กพัฒนาความรู้สึกรับผิดชอบที่ดีต่อการเสาะแสวงหาความรู้และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้กับครู เรียนรู้กับเพื่อน และเรียนรู้กับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว โดยจัดให้เด็กเรียนเป็นกลุ่มย่อย เรียนรู้กับชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ให้เด็กได้ทำกิจกรรมอย่างมีอิสระด้วยตัวเอง โดยผ่านการฝึกจากชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่ท้าทายความสามารถ ด้วยการฝึกให้เด็กคิดบ่อย ๆ และคิดสิ่งที่แปลกใหม่โดยเน้นการปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ ทำให้กล้าคิด และมีผู้ให้การสนับสนุน ในทางที่ถูกต้องเหมาะสมจะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นความรู้ที่ถาวรของเด็ก (ศิรินภรณ์ ศรีวิไล, 2557, หน้า 2-3)
จากที่กล่าวมา สภาพปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กชั้นอนุบาล ด้านการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้กับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) พบว่า ยังไม่สามารถพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ของเด็กได้ตามวัตถุประสงค์ จึงได้พูดคุยกับครูอนุบาลด้วยกัน พบว่า มีปัญหาหลายประการจากการจัดกิจกรรม ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้แก่ กิจกรรมสร้างสรรค์ หรือกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ไม่น่าสนใจ มีรูปแบบที่ไม่เร้าความสนใจ ไม่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ครูไม่จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กมีโอกาสทำงานอย่างอิสระด้วยตนเอง ไม่ได้ใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์ขณะทำกิจกรรม นอกจากนี้ยังพบว่าการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ยังไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เด็กทำกิจกรรมตามความคิดและความต้องการของครูผู้สอน เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จไม่สามารถแสดงผลย้อนกลับที่ได้จากการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้ ซึ่งทำให้เด็กขาดความสนใจ ขาดความกระตือรือร้นและขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ไม่สามารถตอบคำถามหรือแสดงออกในด้านความรู้สึกนึกคิด และการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ไม่เต็มตามศักยภาพของเด็กเท่าที่ควร ผู้รายงานได้หาแนวทางในการปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดความสนใจของเด็ก และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ด้วยการจัดกิจกรรมที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เน้นการปฏิบัติ เน้นการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์และการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ การได้ฝึกคิด ได้ฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ ได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวประชาธิปไตย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2550,หน้า 7 8) ผู้รายงานมีความสนใจในรูปแบบวิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ จึงได้นำมาใช้ในขั้นตอนของกระบวนการในแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษามาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมุ่งส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะความคิดสร้างสรรค์
จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาโดยเฉพาะการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ผู้รายงานในฐานะครูผู้สอนเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จึงมีความสนใจและด้วยความตั้งใจจริงในการที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหา ด้วยการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดละเอียดลออ และความคิดยืดหยุ่นของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในครั้งนี้ จำนวน 8 ชุด โดยนำวิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติตามขั้นตอนจากพื้นฐานไปสู่การพัฒนางานที่ยากขึ้น ผู้รายงานคิดว่าวิธีการสอนแบบเน้นการปฏิบัติ มีลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นศึกษา/วิเคราะห์ 3) ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง 4) ขั้นสรุป/เสนอผลการเรียนรู้ 5) ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้/การนำไปใช้ และ 6) ขั้นการประเมินผล สามารถที่จะช่วยให้เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 สร้างสรรค์งานศิลปะได้ดีและรวดเร็วขึ้น (วรรณิกา เสนไสย, 2556, หน้า 4 5) มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าทางพัฒนาการด้านสติปัญญาโดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กดีขึ้น พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียน เมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) เป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัด สว่างฟ้าพฤฒาราม) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 (80/80)
2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) โดยเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
สมมติฐานของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก
2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธี
สอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์หลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ความสำคัญของการศึกษา
1. ได้ทราบถึงผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) ที่มีต่อพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์
2. เป็นแนวทางและประโยชน์ที่จะช่วยให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกกิจกรรมและวิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กต่อไป
ขอบเขตของการศึกษา
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี จำนวน 3 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 77 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ
2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) 6 ขั้นตอน ดังนี้
2.1.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.1.2 ขั้นศึกษา/วิเคราะห์
2.1.3 ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง
2.1.4 ขั้นสรุป/เสนอผลการเรียนรู้
2.1.5 ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้/การนำไปใช้
2.1.6 การประเมินผล
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) ในด้านความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดละเอียดลออ และความคิดยืดหยุ่น
3. เนื้อหาที่นำมาสร้างชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยมีรายละเอียดของเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จำนวน 8 ชุด ดังนี้
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 1 จินตนาการด้วยเส้น
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 2 เน้นสร้างสรรค์ด้วยสี
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 3 หลากหลายวิธีพับ
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 4 สลับภาพด้วยแบบพิมพ์ที่หลากหลาย
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 5 ผ่อนคลายด้วยการฉีก และการปะ
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 6 อิสระกับการปั้น
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 7 สรรค์สร้างสีสันด้วยการคิด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 8 ประดิษฐ์งานคณิตคิดสนุก
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ระยะเวลาดำเนินการทดลองภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ศิลปะ หมายถึง ผลงานที่เด็กได้แสดงออกซึ่งสะท้อนถึงความคิด ความรู้สึก การรับรู้ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน เป็นการสื่อสารที่สามารถมองเห็นได้ แทนความรู้สึกนึกคิดของเด็ก โดยตรงจากผลงานที่หลากหลายรูปแบบเกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดละเอียดลออ ความคิดคล่องแคล่ว และความคิดยืดหยุ่น
2. ศิลปะสร้างสรรค์ หมายถึง กิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสแสดงออกถึงความสามารถ และ
ถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก และความเข้าใจ ออกมาตามสภาพความสนใจ การรับรู้และความรู้สึกนึกคิดในรูปของกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้าน ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งกิจกรรมที่จัดจะอยู่ในรูปของวัตถุสิ่งของหรือรูปภาพ โดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยเป็นแนวทางให้เด็กได้แสดงความสามารถ ความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมา
3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ หมายถึง กิจกรรมที่เด็กได้แสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ และถ่ายทอดความรู้สึกทางศิลปะสร้างสรรค์ โดยครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ใบงานศิลปะที่หลากหลาย ก่อนให้เด็กทำกิจกรรมต้องอธิบายวิธีใช้วัสดุที่ถูกต้องให้เด็กทราบพร้อมทั้งสาธิต ให้เด็กดูจนเข้าใจ นำผลงานของเด็กทุกคนหมุนเวียนกันจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน หากพบว่าเด็กคนใดสนใจทำกิจกรรมครูควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ปฏิบัติ และนำวัสดุ ธรรมชาติ วัสดุเหลือใช้มาสร้างงานศิลปะให้มีคุณค่าและเก็บชิ้นงานที่เด็กแสดงของแต่ละรายบุคคลเพื่อเป็นข้อสังเกตการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กในช่วงอายุ 4 6 ปีจะมีพัฒนาการคิด สร้างสรรค์สูงสุดในด้านทักษะการลากเส้น การทดลองสี การพับ การพิมพ์ การฉีกและปะ การปั้น การขูดสี และการประดิษฐ์ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เพื่อให้เด็กแสดงออกทางด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดคล่อง ความคิดละเอียดลออ และความคิดยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงออกตาม ความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก สามารถตั้งชื่อ บอกหรือเล่าเรื่องราวจากผลงานของตนเองได้ โดยจัดให้ เด็กได้ทำ กิจกรรมตามความสนใจทั้งรายเดี่ยวและรายกลุ่มที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก
5. ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ หมายถึง นวัตกรรม (ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดย ใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เพื่อให้เด็กแสดงออกทางด้านความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดละเอียดลออ และความคิดยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งหลังจากการปฏิบัติกิจกรรมเด็กสามารถเพิ่มเติมผลงานศิลปศึกษาและแสดงออกตามความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก สามารถตั้งชื่อบอกหรือเล่าเรื่องราวจากผลงานได้ โดยจัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมตามความสนใจทั้งบุคคลและรายกลุ่ม ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก จำนวน 8 ชุดกิจกรรม
5.1 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 1 จินตนาการด้วยเส้น
- กิจกรรมที่ 1 เส้นสวยด้วยมือฉัน
- กิจกรรมที่ 2 ภาพสวยด้วยการโยงสี
- กิจกรรมที่ 3 สนุกคิดต่อเติม
- กิจกรรมที่ 4 สร้างสรรค์ด้วยจินตนาการ
- กิจกรรมที่ 5 การวนเส้น
5.2 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 2 เน้นสร้างสรรค์ด้วยสี
- กิจกรรมที่ 1 การพับสี
- กิจกรรมที่ 2 การเป่าสี
- กิจกรรมที่ 3 สีน้ำและแชมพู
- กิจกรรมที่ 4 กลิ้งสีลูกแก้ว
- กิจกรรมที่ 5 การระบายสีเป็นประกายระยิบระยับ
5.3 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 3 หลากหลายวิธีพับ
- กิจกรรมที่ 1 การพับบ้าน
- กิจกรรมที่ 2 การพับสุนัข
- กิจกรรมที่ 3 การพับผีเสื้อ
- กิจกรรมที่ 4 การพับกบ
- กิจกรรมที่ 5 การพับนกยูง
5.4 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 4 สลับภาพด้วยแบบพิมพ์ที่หลากหลาย
- กิจกรรมที่ 1 นิ้วมือสร้างดอกไม้สวย
- กิจกรรมที่ 2 ยางลบสร้างสรรค์ดอกไม้
- กิจกรรมที่ 3 สนุกกับก้านกล้วย
- กิจกรรมที่ 4 สนุกกับใบไม้
- กิจกรรมที่ 5 ภาพพิมพ์จากแกนกระดาษชำระ
5.5 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 5 ผ่อนคลายด้วยการฉีกและปะ
- กิจกรรมที่ 1 หน้าสัตว์จากกระดาษเหลือใช้
- กิจกรรมที่ 2 จินตนาการภาพสวยจากการตัด
- กิจกรรมที่ 3 ปะติดกระดาษเป็นภาพ
- กิจกรรมที่ 4 ธรรมชาติสร้างสรรค์
- กิจกรรมที่ 5 จินตนาการจากวัสดุธรรมชาติ
5.6 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 6 อิสระกับการปั้น
- กิจกรรมที่ 1 สร้างเส้นเป็นภาพสวย
- กิจกรรมที่ 2 หมีแพนด้าน่ารัก
- กิจกรรมที่ 3 กระต่ายน้อย
- กิจกรรมที่ 4 แมงมุมแสนซน
- กิจกรรมที่ 5 หนอนน้อยน่ารัก
5.7 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 7 สรรค์สร้างสีสันด้วยการคิด
- กิจกรรมที่ 1 ขุดสีสร้างจินตนาการ
- กิจกรรมที่ 2 ภาพศิลป์สีชอล์กและสีน้ำ
- กิจกรรมที่ 3 ภาพสวยด้วยสีน้ำรองพื้น
- กิจกรรมที่ 4 สร้างภาพด้วยจุดสี
- กิจกรรมที่ 5 สร้างสรรค์ด้วยปากกาและสีผสมอาหาร
5.8 กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชุดที่ 8 ประดิษฐ์งานคณิตคิดสนุก
- กิจกรรมที่ 1 ปลาแสนสวย
- กิจกรรมที่ 2 ดอกไม้สวยสด
- กิจกรรมที่ 3 กบร่าเริง
- กิจกรรมที่ 4 ไก่สนุกสนาน
- กิจกรรมที่ 5 ม.ม้าคึกคัก
6. การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติ หมายถึงกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์เป็นสื่อของการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ และมีความสุขในการเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีการวางแผน จัดเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กมีอิสระในการค้นหา สำรวจและทดลองเมื่อเด็กรู้สภาพแวดล้อม เด็กก็จะถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ และช่วยให้กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ซึ่งวิธีการจัดกิจกรรมที่ผู้รายงานจัดให้เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้รู้จักคิด แสดงความรู้สึก และแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ โดยการใช้คำถามยั่วยุและกระตุ้นให้ตอบการเปลี่ยนแปลง การสร้างสิ่งใหม่จากโครงสร้างเดิม และทักษะในการใช้จินตนาการในการมองเห็นภาพในมิติต่าง ๆ ที่แปลกใหม่ ให้เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทำกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม ที่ผ่านงานสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 เช่น การลากเส้น การทดลองสี การพับ การพิมพ์ การฉีก และปะ การปั้น การขูดสี และการประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ช่วยให้ เกิดแนวคิดที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถนำความคิดที่แปลกใหม่นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งการจัดกิจกรรมมีกระบวนการที่ต่อเนื่องกันเป็น 6 ขั้น ดังนี้
6.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง การกระตุ้น การชักจูง และโน้มน้าวให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นและสนใจอยากค้นหาความรู้ โดยการสนทนาซักถามและทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ที่จะต้องเรียนรู้ จากสื่อการสอน เช่น แผ่นใส ภาพสี หรืออื่น ๆ มาเป็นสิ่งเร้าช่วยดึงความสนใจของผู้เด็ก อาจใช้คำถามยั่วยุต่าง ๆ และที่สำคัญจะต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เด็กตอบสนอง เช่น การกระตุ้นให้เด็กตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อโยงเข้าหาประสบการณ์ใหม่
6.2 ขั้นศึกษา/วิเคราะห์ หมายถึง การสนทนาร่วมกันโดยการแสวงหาความรู้ แสดงความคิดเห็นร่วมกัน วิเคราะห์และหาข้อสรุปในประเด็นที่ได้ตั้งไว้ในการทำกิจกรรมตามขั้นตอนโดยการแบ่งกลุ่มให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม โดยการจัดหาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ เช่น แผนภูมิ ใบความรู้ แผ่นใส รูปภาพ วีดีทัศน์ หนังสือ เอกสาร หรืออื่น ๆ เพื่อให้ศึกษาวิเคราะห์ร่วมกัน
6.3 ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง หมายถึง การดำเนินกิจกรรมร่วมกัน อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิเคราะห์เพื่อให้ได้กระบวนการการปฏิบัติที่ชัดเจน รอบคอบ รัดกุม ทำให้เกิดผลงาน ได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ฝึกคิด วิเคราะห์ จินตนาการ สร้างสรรค์ ครูผู้สอนมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือ และประเมินการปฏิบัติเพื่อแก้ไขหากมีข้อบกพร่อง
6.4 ขั้นสรุป/เสนอผลการเรียนรู้ หมายถึง การประมวลข้อมูลความรู้จากประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ สรุปและนำเสนอสิ่งที่ค้นพบ ในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการขยายเครือข่ายความรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้การเรียนรู้มีความหมายยิ่งขึ้น
6.5 ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้/การนำไปใช้ หมายถึง การปรับปรุงผลงานของตนเองที่ได้แนวคิดจากการนำเสนอมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น หรือเกิดความคิดใหม่ สร้างสรรค์งานที่ต่าง จากเดิม หรืออาจได้รับแนวคิดจากข้อเสนอแนะของผู้สอนมาประยุกต์สร้างผลงานใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในสภาพการณ์จริงได้
6.6 ขั้นการประเมินผล หมายถึง การวัดและประเมินผลงานเด็กจากการปฏิบัติจากแฟ้มสะสมงานชิ้นงาน/ผลงาน โดยเด็กประเมินตนเอง สมาชิกกลุ่ม ผู้ปกครองและผู้สอนมีบทบาทร่วมวัดผลประเมินผล
7. ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถทางสมองของมนุษย์ในความคิดที่หลากหลายทิศทางในที่นี้คือความสามารถของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในการนำสิ่งเร้าที่กำหนดให้ มาผสมผสานกับประสบการณ์เดิม แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดความคิดในการตกแต่งดัดแปลงให้เกิดความคิดใหม่ จากการปฏิบัติกิจกรรมชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ
7.1 ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความสามารถในการคิดและ/หรือทำสิ่งที่แปลกใหม่ได้หลากหลายรูปแบบโดยให้เด็กทำสิ่งที่แปลกใหม่แตกต่างจากความคิดธรรมดาหรือความคิดง่าย ๆ ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการนำความรู้เดิมมาคิดดัดแปลงและปรับประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นได้ในองค์ประกอบต่าง ๆ จากภาพที่กำหนดให้
7.2 ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ความสามารถในการคิดและ/หรือทำสิ่งที่แปลกใหม่ได้หลากหลายรูปแบบเกี่ยวกับองค์ประกอบได้ทันทีเมื่อเห็นวัสดุอุปกรณ์และหรือรูปแบบที่กำหนดให้ได้ทันที โดยไม่ต้องคิดนานในตั้งชื่อ การบอกและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่สร้างได้สัมพันธ์กับภาพศิลปะสร้างสรรค์ในการสร้างภาพ
7.3 ความคิดละเอียดลออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดของการคิดเป็นขั้นตอนสามารถอธิบายให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน จัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่งและขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพราะความคิดละเอียดลออเป็นจุดสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มุ่งเน้นผลผลิตที่สร้างสรรค์เป็นสำคัญ
7.4 ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ความคิดที่สามารถบอกประโยชน์ของสิ่งของได้ว่ามีอะไรบ้างและจัดเป็นหมวดหมู่หรือประเภทและคิดปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับเพื่อนด้วยความเพลิดเพลิน ตั้งใจทำกิจกรรม เก็บวัสดุอุปกรณ์ และทำความสะอาดบริเวณได้เรียบร้อย
8. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) หมายถึง คุณภาพชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่นำไปใช้แล้วเด็กมีระดับของพัฒนาการระหว่างการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และระดับของพัฒนาการหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการยืนยันความเป็นไปได้ของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ว่ามีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้
8.1 E1 หมายถึง ร้อยละของระดับของพัฒนาการเฉลี่ยที่เกิดจากการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ของเด็ก (ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้)
8.2 E2 หมายถึง ร้อยละของระดับของพัฒนาการเฉลี่ยที่เกิดจากการทาทดสอบหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ของเด็ก (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการเรียนรู้)
9. ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วิธีสอนแบบเน้นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) ในด้านความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดเอียดลออ และความคิดยืดหยุ่นสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
10. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 หมายถึง เด็กชาย เด็กหญิง ที่มีอายุ 4 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนเมืองพัทยา 3 (วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม) จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี