ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทาน
หรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำตาม
มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านป่าหมากวิทยา อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัด
แม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวฟ้าหงษ์ ธรรมขันธ์
หน่วยงานที่สังกัด : โรงเรียนบ้านป่าหมากวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
แม่ฮ่องสอน เขต ๒
ปีที่ศึกษา : ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านป่าหมากวิทยา อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนบ้านป่าหมากวิทยา จำนวนนักเรียน ๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๔ แผน ๒) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ ชุด ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ๐.๔๐ -๐.๗๕ และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ ๐.๔๐ - ๐.๗๐ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ ๐.๙๕ และ ๔) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ จำนวน ๑๐ ข้อ ค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ ๐.๕๘ ถึง ๐.๘๘ ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach) เท่ากับ ๐.๙๑ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม E๑ และ E๒ หาค่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นด้วยค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคนด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และร้อยละ การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
๑. หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ ๘๙.๑๖/๘๘.๓๓
๒. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ ๐.๕๖๕๒ แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๕๒
๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สูงกว่าก่อนการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๕.๑๓
๔. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๖๐)
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด : นิทานหรรษา เสริมปัญญา พาสนุก เพื่อเพิ่มทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ส่งผลให้หนังสือส่งเสริมการอ่านประเภทนิทาน ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุดและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง