ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางวัฒจรี ตันติวิวัฒน์
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 47 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการสอน ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที่ (t-test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลาง และครูมีความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบ ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรม 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ 3.1 ขั้นตั้งเป้าหมายในการคิด 3.2 ขั้นระบุปัญหา 3.3 ขั้นรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 3.4 ขั้นวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูล 3.5 ขั้นระบุสาเหตุและทางเลือกในการแก้ปัญหา 3.6 ขั้นประเมินทางเลือก 3.7 ขั้นลงความเห็นและตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหา 3.8 ขั้นลงมือปฏิบัติและสรุปผล ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างความรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ 5) การประเมินผลรูปแบบ รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.14/81.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
3. ผลการใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.53,S.D.=0.12)