ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายฏิวัตต์ สันทาลุนัย
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านหนองพญา ตำบลประดู่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่ทำวิจัย 2559
บทคัดย่อ
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้หนึ่งที่สามารถนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น ความต้องการของชุมชน และผู้เรียน ให้สอดคล้องกับหลักการปฏิรูป การเรียนรู้โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง ให้มีประสิทธิภาพ 80 / 80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ ในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านหนองพญา จำนวน 11 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ จากแบบประเมินแผนการเรียนรู้ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 ชุด แบบประเมินบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 2 แผ่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.34-0.76 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.2 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.712 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 90.20/81.13
2. ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางโดย มีค่าเท่ากับ 0.7389 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ร้อยละ 73.89
3. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05
4. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลางโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวม
โดยสรุปการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การฝึกปฏิบัติดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูนำไปใช้เป็นนวัตกรรมในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป