ชื่อผลงาน รายงานผลการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางปราณี คนธรักษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และความต้องการในการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน 2 ) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมือง ลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม เกี่ยวกับสภาพปัญหาด้านการเรียนภาษาไทย และความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน 2) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ใช้เวลาทั้งสิ้น 22 ชั่วโมง โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ได้แก่ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหา และแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขั้นที่ 2 สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขั้นที่ 3 ศึกษาผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ ขั้นที่ 4 ประเมินผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence index: IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก ( r ) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยสูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardsons KR-20) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbachs coefficient alpha) สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ใช้การหาค่า E1 และ E2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ dependent และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และความต้องการในการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน พบว่านักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน มีความเห็นว่าปัญหาสำคัญที่สุดในการเรียนภาษาไทยคือปัญหาด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้หนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 ศูนย์รวมศรัทธาวัดพระมหาธาตุ เล่มที่ 2 ภูมิปัญญาชาติเครื่องถมเมืองนคร เล่มที่ 3 ขับกลอนตะลุงมุ่งบ้านนายหนัง เล่มที่ 4 สาธุชนไหลหลั่งแห่ผ้าขึ้นธาตุ และเล่มที่ 5 เยี่ยมเมืองชมตลาดสองฝั่งราชดำเนิน ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.65/84.25 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริม การอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 อยู่ในระดับมากที่สุด