ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางสุภาพร โคเพ็ชร์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนและ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1. แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 5 เล่ม 2. แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน 3. แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.33 0.89 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.68/81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6854 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.54
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีคะแนนทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว ที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด