การศึกษาค้นคว้า การพัฒนาและผลการใช้ชุดการสอน เรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนา
ความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผล การเปรียบเทียบ และการสรุปความ
ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนแดง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางนพดา ศรีคะเณย์
หน่วยงาน โรงเรียนชุมชนบ้านโนนแดง
ปีที่ศึกษาค้นคว้า ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาและผลการใช้ชุดการสอน เรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาความสามารถด้าน การคิดเชิงเหตุผล การเปรียบเทียบและการสรุปความ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนแดง ซึ่งมีวัตถุประสงค์การศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้ 1)เพื่อการพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการสอน เรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงเหตุผล การเปรียบเทียบและการสรุปความ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2)เพื่อศึกษาผลการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัยในการทดสอบวัดผลการพัฒนาประสบการณ์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของชุดการสอน เรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาความสามารถด้าน การคิดเชิงเหตุผล การเปรียบเทียบและการสรุปความ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น โดยการใช้ t-test และศึกษาดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยการใช้ชุดการสอน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยและครูที่มีต่อการพัฒนาและผลการใช้ชุดการสอน และศึกษาผลการประเมินคุณภาพชุดการสอน กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านโนนแดง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 19 คน โดยใช้วิธีในการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้แบบแผนการศึกษาค้นคว้าแบบกลุ่มเดียว การทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย ชุดการสอนและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้,แบบทดสอบวัดผลการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย จำนวน 5 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ สูตรKR-20 คูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) ซึ่งค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ.98, แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยและครู,แบบประเมินคุณภาพชุดการสอน ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ผู้ศึกษาเริ่มทดลองใช้ชุดการสอน ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2559 จนครบทั้ง 10 ชุด และทำการทดสอบวัดผลการพัฒนาประสบการณ์ก่อนเรียน-หลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)และได้เปรียบเทียบผลการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย โดยใช้ t-test (Dependent Sample) และศึกษาความก้าวหน้าการเรียนรู้ด้วยดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1)ผลการศึกษาการพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการสอน เรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาความสามารถด้าน การคิดเชิงเหตุผล การเปรียบเทียบและการสรุปความ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 พบว่า ผลวิเคราะห์การประเมินประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.74/83.16 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และการวิเคราะห์ด้านกระบวนการเรียนรู้ ภาพรวมการวิเคราะห์ ระดับการปฏิบัติงานคุณภาพอยู่ใน ระดับดีมาก 2)การศึกษาผลการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย ในการทดสอบวัดผลการพัฒนาประสบการณ์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของชุดการสอน เรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาความสามารถด้าน การคิดเชิงเหตุผล การเปรียบเทียบและการสรุปความ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น โดยการใช้ t-test พบว่า ผลการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัย ในการทดสอบก่อน-หลังเรียน เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ย หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.88, 3)ผลการศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อชุดการสอน พบว่า ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ในภาพรวม ระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของครู พบว่า ความพึงพอใจทุกด้านระดับมากที่สุด และการศึกษาผลการประเมินคุณภาพชุดการสอน มีคุณภาพ ระดับพอใจมาก
ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าชุดการสอน เรื่อง การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาความสามารถด้าน การคิดเชิงเหตุผล การเปรียบเทียบและการสรุปความ ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เด็กปฐมวัยมีคะแนนผลการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้สูงขึ้น ผลการใช้ชุดการสอนที่สร้างขึ้นเป็นไปตามกระบวนการ ผลการประเมินระดับพอใจมาก และเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพและสมมติฐานที่ตั้งไว้ เด็กปฐมวัยที่เรียนรู้จากชุดการสอน เกิดทักษะคิดเป็น ทำเป็นแก้ปัญหาได้ และเกิดพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เด็กปฐมวัยสามารถประยุกต์การเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้ และบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามจุดหมายของหลักสูตร