ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ
ผู้ศึกษา นางสีดา ดอนเหลือม
ปีที่ทำการศึกษา พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
จากสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ โดยรวมมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มสาระอื่น ๆ มากและไม่ผ่านเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด เมื่อพิจารณาเนื้อหาในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าเนื้อหาเรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ นักเรียนทำคะแนนได้น้อยที่สุดในเนื้อหาเรื่องต่าง ๆ ทั้งหมด ดังนั้นผู้ศึกษาจึงนำมาศึกษาซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75 / 75 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ
กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นห้องเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด คือ ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 และแบบประเมินความพึงพอใจการเรียนต่อชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.65 0.91 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t - test (Independent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีจัดการเรียนแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ มีประสิทธิภาพ 79.00/78.00 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 75/75
2. ผลการเรียนรู้ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 หลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 มีความพึงพอใจต่อจากจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58