รายงานการประเมินโครงการเรื่อง : การบริหารจัดการโครงการการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
ในสถานศึกษาโดยใช้วิธีประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model
ของโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์
ผู้ประเมิน : นางสาววนิดา ตันสุวรรณรัตน์
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ สังกัดเทศบาลตำบลบางคล้า จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
ปีที่ทำการวิจัย : 2558 - 2559
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินการ ความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการตามจุดประสงค์ของโครงการการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ สังกัดเทศบาลตำบลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราปีการศึกษา 2558 โดยใช้การประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model ใน 8 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต 5) ด้านผลกระทบ 6) ด้านประสิทธิผล 7) ด้านความยั่งยืน และ 8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังประเมินโครงการเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ การประเมินแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การประเมินก่อนดำเนินโครงการฯมีการเก็บข้อมูล 2 ขั้นตอน 1) เป็นการประเมินความต้องการจำเป็น (PNImodified) ทั้ง 8 ด้าน โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ รองผู้อำนวยการ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง จำนวน 212 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ฉบับที่ 1 2) ประเมินด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์คณะกรรมการดำเนินโครงการจำนวน 40 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ฉบับที่ 1 และ 3) ทดสอบความรู้และวัดเจตคติของนักเรียนก่อนเริ่มโครงการ ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างดำเนินการ ด้านกระบวนการ (Process) โดยสอบถามคณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 40 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ฉบับที่ 2 และระยะที่ 3 การประเมินผลหลังการดำเนินงานโครงการฯสิ้นสุด มีการเก็บรวบรวมข้อมูล 5 ขั้นตอน 1) โดยการสอบถามความคิดเห็นทั้ง 8 ด้าน ของคณะกรรมการดำเนินโครงการ 40 คน ใช้แบบสอบถาม ฉบับที่ 3 2) การประเมินด้านผลผลิต (Product) ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และ ด้านการถ่ายทอดส่งต่อโดยสอบถามผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 203 คน ใช้แบบสอบถาม ฉบับที่ 4 และสอบถามความคิดเห็นทั้ง 5 ด้านจากนักเรียนจำนวน 199 คน โดยใช้แบบสอบถาม ฉบับที่ 4 3) สัมภาษณ์ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 37 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ฉบับที่ 2 4) สังเกตพฤติกรรมตามกิจกรรมการดำเนินโครงการ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักเรียน จำนวน 160 คน เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการฯ และ 5) การประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการฯ ตามความคิดเห็น คณะกรรมการดำเนินโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และ นักเรียน จำนวน 271 คน ใช้แบบวัดความพึงพอใจ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครจซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม 7 ฉบับ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.86-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .39-.95 และค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .81-.93 แบบสัมภาษณ์ 2 ฉบับ แบบสังเกต 1 ฉบับค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .86-1.00 และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ฉบับ ค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.86 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .30-.87 และค่าความเชื่อมั่น .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสูตรคำนวณความต้องการจำเป็น PNImodified
ผลการประเมินปรากฏดังนี้
ผลการวิเคราะห์ระยะที่ 1 การประเมินก่อนดำเนินโครงการฯ ได้แก่
1. ผลการประเมินความคิดเห็นของ คณะกรรมการดำเนินโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองต่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินโครงการฯ พบว่า มีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของโครงการฯ ทั้ง 8 ด้าน ในภาพรวมมีความคิดเห็นระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านผลกระทบมีความคิดเห็นในระดับมาก นอกนั้นมีความคิดเห็นในระดับปานกลางทุกด้าน ส่วนค่าความความคิดเห็นต่อสภาพที่พึงประสงค์ของโครงการฯ โดยรวมมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีความคิดเห็นระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านบริบท มีความคิดเห็นระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Need Assessment) โดยนำข้อมูลผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในข้อ 1. มาหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified (Priority Needs Index) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็น ของโครงการฯ ทั้ง 8 ด้าน เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ (1) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (2) ด้านความยั่งยืน (3) ด้านประสิทธิผล (4) ด้านผลผลิต (5) ด้านกระบวนการ (6) ด้านผลกระทบ (7) ด้านปัจจัยนำเข้า และลำดับสุดท้ายได้แก่ (8) ด้านบริบท
3. ผลการสัมภาษณ์ด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้า โดยคณะกรรมการดำเนินโครงการ ด้านบริบท สรุป 2 ประเด็นแรก คือ ควรมีการกำหนดบทบาทหน้าที่แบ่งงานไว้ชัดเจน และทำอย่างเป็นระบบ และนักเรียนส่วนใหญ่มีจิตสำนึกในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีความกระตือรือร้นและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ผลการวิเคราะห์ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างการดำเนินงานโครงการฯตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการดำเนินโครงการด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีความคิดเห็นในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นจากมากไปหาน้อย 2 ข้อ คือ นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสเรียนรู้จากการทำงานกลุ่มและการฝึกปฏิบัติจริง และโรงเรียนดำเนินกิจกรรมโครงการฯโดยเน้นความสำคัญในการร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมพัฒนาของผู้ปกครองและชุมชน
ผลการวิเคราะห์ระยะที่ 3 การประเมินผลหลังการดำเนินงานโครงการฯ ได้แก่
3.1 ผลการประเมินความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ ทั้ง 8 ด้าน พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีความคิดเห็นในระดับมากจำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ส่วนด้านอื่นมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน
3.2 ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา หลังการดำเนินงานโครงการการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียน หลังการดำเนินโครงการการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3.4 ผลการสังเกตการปฏิบัติตามการดำเนินงานโครงการฯ ของผู้ประเมิน และครูประจำชั้น ทั้งโดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
3.5 ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ปกครอง และ คณะกรรมการสถานศึกษา ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานโครงการฯ ได้แก่ ชุมชนวัดโพธิ์บางคล้า ชุมชนดงตาล และชุมชนโจ๊วฉู่ ยินดีร่วมและสนับสนุนโครงการการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ ต่อไป
ส่วนด้านคุณลักษณะของนักเรียนตามโครงการฯ พบว่า นักเรียนเผยแพร่ความรู้การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดสู่ชุมชนทั้ง 3 ชุมชนอย่างเข้มแข็ง
3.6 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการฯ ของผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินโครงการ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและนักเรียน โดยรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุด
3.7 ผลการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด โดยรวม ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 79.79 เมื่อจำแนกเป็นชั้นเรียนปรากฏว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเรียนสูงสุด ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 91.81 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการเรียนต่ำสุด ได้คะแนนคิดเป็นร้อยละ 55.83
3.8 การประเมินเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ต่อการดำเนินโครงการการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ โดยรวมมีความเห็นด้วยระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีความเห็นด้วยระดับมากที่สุด 8 ข้อ และมีความเห็นด้วยระดับมาก 2 ข้อ
3.9 คะแนนทดสอบความรู้หลังประเมินโครงการเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโพธิ์ สูงกว่าคะแนนก่อนประเมินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
Key words : Drug Abuse Prevention and Remedy
The Title of Research : Project Management of Drug Abuse Prevention and Remedy
In the School Using CIPPIEST Model of Watpho District School 2
Author : Miss Wanida Tansuwannarat
School : Watpho District School 2, Bangkhla Sub-district Municipality,
Chachoengsao Province
Academic Year : 2015 - 2016 A.D.
ABSTRACT
The purpose of this study was to evaluate project of the drug abuse prevention and remedy using CIPPIEST Model management of Watpho District School 2(Stufflebeam & Shinkfield, 2007) through 8 dimensions ; context evaluation, input evaluation, process evaluation. product evaluation, impact evaluation, effectiveness evaluation, sustainability evaluation, and transportability evaluation. The study comprised three stages ; firstly, Pre Evaluation ; on context and input evaluation using interview form with the samples of 40 projects committees and, exploration of current conditions and desire conditions of the drug abuse prevention and remedy project with 212 samples done by analyzed PNImodified, and studied 3 best practice schools. Stage II, Ongoing evaluation or process evaluation with 40 project committees. Finally, Post Evaluation or summative evaluation on product evaluation, impact evaluation, effectiveness evaluation, sustainability evaluation, and transportability evaluation. Instruments applied consisted of 7 questionnaires, 2 forms of interview, a form of achievement test, and a structured observation form. To analyze data, percentage, mean and standard deviation were employed. To analyze data, percentage, mean, standard deviation and PNImodified (Priority Needs Index) were employed.
The findings were as follows:
Stage I Analysis Results Pre-Project Assessment ;
1. The samples opinions on current conditions all aspects were at a moderate level, except, impact aspect was at a much level. But, the opinions on desire conditions were at the highest level.
2. Context and inputs was interviewed by executives and project committees. Summarize the first two issues; improving management and post-evaluation management is rarely systematic, and most students have a sense of drug abuse prevention and remedy, have enthusiasm and behavior change in a better way.
Stage II evaluation during project implementation ;
According to the opinions of the project committees, process overall was at the highest level. When considering each item, the opinions were at a much level to the highest level. Sorting by average rating ascending to descending ; all students are given the opportunity to learn from group work and practice, and the school operates project activities with emphasis on cooperation, co-develop the ideas of parents and community.
Stage III evaluation after project implementation.
3.1 According to the opinions of the project committees after project implementation, all aspects and overall were at the highest level, but the sustainability was at a much level.
3.2 According to the opinions of parents and school board committee, all aspects and overall were at the highest level.
3.3 According to the opinions of the students, all aspects and overall were at the highest level.
3.4 Observation of compliance with project implementation of the assessor and class teacher both overall and individual aspects are at the highest level.
3.5 Results of interviews with parents and school board committee; on the achievement of the objectives of the project implementation:- the communities of Watpho Bangkhla, Dongtaan and Joechoo welcomed and supported the drug abuse prevention and remedy project of Watpho District School 2.On the characteristics of students under the project, they said that the students strongly disseminate knowledge on prevention, and problem solving to the communities.
3.6 The results of the satisfaction assessment on the Implementation of the project by the project committees, parents, school board committee and students overall was at the highest level.
3.7 The results of learning achievement measurement on prevention and problems solving of drug, overall was 79.79 %, when classified as a class, it appears that prathom 4 student had the highest grade the score was 91.81 percent, and prathom 4 student had the highest grade the score was 91.81 %, but prathom 1 student had the lowest grade the score was 55.83 %.
3.8 The results of the satisfaction assessment on the Implementation of the project by the students, overall was at the highest level. When considering each item, there are 8 opinions with the highest level and 2 opinions with a high level.
3.9 Regarding the project evaluation result on the prevention and problems solving of drug, the conceptual understanding of learners was increased statistically significant at the level of .05