ผู้ศึกษา นางสายรุ้ง กองแก้ว
ตำแหน่ง ครู
วิทยฐานะ ชำนาญการ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนวัดกาญจนบุรีเก่า อุดมราษฎร์วิทยา อำเภอกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ครูมักจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นที่เนื้อหา
วิชามากเกินไป ครูใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเนื้อหาและอ่านออกเสียงให้นักเรียนฟังมากกว่าให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกฝนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ขาดการส่งเสริมด้านการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ไม่ให้ความสำคัญในการใช้สื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเพื่อความเข้าใจเท่าที่ควรนักเรียนขาดกระบวนการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม และโรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียน 84 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำขาว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 42 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน
8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.48 ถึง 0.81 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 แบบวัด
ความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีค่าเฉลี่ย 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.14/81.03
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้คำนามเพิ่มขึ้น จึงสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่าง
มีความหมาย และเกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นักเรียนมีความ
พึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัด
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น จะเห็นได้ว่า บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม (Nouns) ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 สามารถนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี