บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function) ตามแผนการเรียนที่ผู้รายงานได้เรียบเรียงขึ้นได้หรือไม่ (2) พัฒนาและสร้างเอกสารประกอบการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function) รายวิชาทักษะคำนวณ 3 ค32203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน รายวิชาทักษะคำนวณ 3 ค32203 (4) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function) รายวิชาทักษะคำนวณ 3 ค32203 (6) เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาทฤษฎีฟิสิกส์ ว32206 แผนการเรียนวิทย์-คณิต ห้องเรียนพิเศษ (Gifted Program) ตามหลักสูตรสถานศึกษาพุทธศักราช ๒๕๕๓ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๕๕)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นกลุ่มเดียวกัน ได้แก่
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนพิเศษ (Gifted Program) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย (1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function) รายวิชาทักษะคำนวณ 3 ค32203
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านทดลองใช้ การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนาจนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น (2) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 22 ข้อ และแบบทดสอบประจำหน่วยย่อยที่ 1 5 จำนวน 21 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function)
การดำเนินการใช้เอกสารประกอบการเรียน ผู้รายงานให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนแล้วจึงดำเนินการให้ผู้เรียนศึกษาและทำใบกิจกรรม/ใบงาน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน จำนวน 5 หน่วยย่อยที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เมื่อเรียนจบแต่ละหน่วยย่อยแล้วให้ทดสอบประจำแต่ละหน่วยย่อย รวม 5 หน่วยย่อย และเมื่อเรียนครบทั้ง 5 หน่วยย่อยแล้วให้ผู้เรียนทำการทดสอบหลังเรียนซึ่งเป็นฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาทดสอบมาวิเคราะห์ (1) หาจำนวนผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ โดยใช้สถิติทดสอบ Z (2) หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ (4) หาดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน และ (5) หาความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน โดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการดำเนินการพบว่า
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนพิเศษ (Gifted Program) ปีการศึกษา 2559 มีความสามารถเพียงพอในการเรียนเรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function) ตามแผนการเรียนที่ผู้รายงานได้เรียบเรียงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function) รายวิชาทักษะคำนวณ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75.45/74.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3) คะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4). ดัชนีประสิทธิผล (E.I) มีค่าเท่ากับ 0.6557 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.57
5). ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน (Derivative of Function) รายวิชาทักษะคำนวณ 3 ค32203 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนพิเศษ (Gifted Program) ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ดในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ