ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นางมลิวรรณ กล้าหาญ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลกุดน้ำใส สังกัดเทศบาลตำบลกุดน้ำใส จังหวัดขอนแก่น
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลกุดน้ำใส สังกัดเทศบาลตำบลกุดน้ำใส จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุด (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 6 ชุด ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (3) . แบบวัดความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X และสถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 85.00/83.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.8631
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัวเพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง พืชผักสวนครัว
เพื่อคุณภาพชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก