ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของ
นักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง
ปีการศึกษา 2559
ผู้ประเมิน นายสุทัศน์ เสียงเลิศ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง
หน่วยงาน โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง อำเภอสิเกา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านสภาพบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการ ดำเนินโครงการและประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์แบบประเมินแบบซิปป์(CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 309คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 309คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13คนและศึกษาจากประชากรครู จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.884-0.957สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows v.16
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการป้องกันและ
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องของโครงการป้องกันและ
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2559 นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง ร้อยละ 15.44 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมและทุกตัวบ่งชี้มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินการโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดเจริญร่มเมือง ปีการศึกษา 2559 โดยรวม พบว่า ทุกกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
2. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
3. ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4. ควรนำผลกาประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model)เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามสภาพบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาดำเนินงานตามโครงการต่อไป
3. ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป