ชื่อเรื่อง : รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านป่าไผ่
ผู้ศึกษา : ยุทธนา ปันวารี
ปีที่ศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษารายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านป่าไผ่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ผู้ศึกษาได้ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชุดการดูแลสุขภาพ จำนวน 17 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบหลังเรียนของเอกสารประกอบการเรียนแต่ละเล่ม แบบแสดงความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูป จำนวน 1 ชุด จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการศึกษา
1. เอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 เล่ม มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.11/84.74
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 44.39
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดการดูแลสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.59)