ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง
โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสิทธิวรรณ บุญยะมาลิก ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการ (2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อการดำเนินงานตามโครงการ (3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ (4) เพื่อประเมินผลผลิตในการดำเนินงานตามโครงการ CIPP MODEL เป็นรูปแบบในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนประทาย ปีการศึกษา 2559 แยกเป็นครูที่เป็นคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา เลือกกลุ่มตัวอย่างโดย วิธีแบบเจาะจง จำนวน 30 คน และ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบเจาะจง จำนวน 60 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นมี จำนวน 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งครอบคลุม 4 ด้านคือ (1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (2) การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (3) การประเมินด้านกระบวนการ และ (4) การประเมินด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 เพื่อใช้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียน 4 ด้าน คือ (1) ด้านการจัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมความรู้ทางด้านดนตรีลูกทุ่ง (2) ด้านการจัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ (3) ด้านการจัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมพัฒนาทักษะทางดนตรี และ (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 3 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย ก่อนการดำเนินโครงการและหลังการดำเนินโครงการ และฉบับที่ 4 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน เกี่ยวกับการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย ก่อนดำเนินโครงการและหลังการดำเนินโครงการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และ t Dependent
ผลประเมินสรุปได้ดังนี้
การประเมินตามรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model มี 4 ด้าน ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อม
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย สามารถสร้างคุณลักษณะที่ดีด้านการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด และโรงเรียนควรสนับสนุนบุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการให้มีความเหมาะและเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการ
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการดำเนินกิจกรรมที่กำหนดในโครงการตามขั้นตอนทุกกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และควรมีการประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า บรรยากาศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกันเอง อบอุ่น และครูให้ความเอาใจใส่ดูแลผู้เรียนอย่างทั่วถึงอยู่ในระดับดีมาก และมีความพร้อมเพรียงในการฝึกซ้อมของนักเรียนในโครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับดีมาก
ผลการประเมินตามแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ โครงการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา 4 ด้าน ดังนี้
ด้านการจัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมความรู้ทางด้านดนตรีสากล พบว่าผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
ด้านการจัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
ด้านการจัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมพัฒนาทักษะทางดนตรี พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนด้าน วงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ผลการประเมิน อยู่ในระดับดีมาก
ส่วนผลการเปรียบเทียบความแตกต่างการพัฒนา การดำเนินงานกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนประทาย ก่อนดำเนินโครงการ และ หลังการดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่ระดับ .01