ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถี
แห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งาน
เกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภอ
อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้ศึกษา : นายบุญชนะ เครือทอง
หน่วยงานที่สังกัด : โรงเรียนบ้านนาไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
เขต 5
ปีที่ศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านนาไคร้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านนาไคร้ จำนวนนักเรียน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 แผน 2) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) 0.40 -0.75 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.40 - 0.70 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.39 ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach) เท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม E1 และ E2 หาค่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นด้วยค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคนด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และร้อยละ การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. การพัฒนาจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.06/86.66
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.7168 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 71.68
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.77
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43)
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด : พืชผักสวนครัววิถีแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ส่งผลให้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง