ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินผลโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 5
ผู้รายงาน นางสาวกาญจนา กันหาภัย รองผู้อำนวยการโรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 อำเภอวิเศษชัยชาญ
จังหวัดอ่างทอง
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีงบประมาณ 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบท ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงานและประเมินผลผลิตของโครงการ ดำเนินการประเมินผลทั้งระบบโดยใช้รูปแบบการประเมิน แบบซิปป์
(CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 5 คน ครูจำนวน 81 คน นักเรียนจำนวน 297 คน ผู้ปกครองจำนวน 297 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน ของโรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวิเศษไชยชาญตันติวิทยาภูมิ เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) แบ่งออกเป็น 5 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามบริบทโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับแนวนโยบายทางการศึกษา จำนวน 6 ข้อ และ แนวทางการดำเนินงาน จำนวน 6 ข้อ รวมทั้งหมดจำนวน 12 ข้อ ใช้สอบถามสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวิเศษไชยชาญตันติวิทยาภูมิ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประกอบด้วย ด้านบุคลากรจำนวน 6 ข้อ ด้านงบประมาณ จำนวน 3 ข้อ ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ จำนวน 3 ข้อ รวมทั้งหมดจำนวน 12 ข้อ ใช้สอบถามสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ฉบับที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ ประกอบด้วย การวางแผนการดำเนินงาน จำนวน 6 ข้อ การดำเนินงานตามแผน จำนวน 6 ข้อ การประเมินผล จำนวน 3 ข้อ การปรับปรุงและพัฒนา จำนวน 3 ข้อ รวมทั้งหมดจำนวน 18 ข้อ ใช้สอบถามสำหรับ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครู ฉบับที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตโครงการ จำนวน 19 ข้อ ใช้สอบถามสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมในโครงการ จำนวน 10 ข้อ ใช้สอบถามสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. บริบทของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 มีความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาและแนวทางการดำเนินงานของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านบุคลากร รองลงมาคือด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านงบประมาณ
3. กระบวนการของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการวางแผน รองลงมาคือด้านการปรับปรุงและพัฒนา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการดำเนินตามแผน
4. ผลผลิตของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาพบว่า
4.1 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.2 ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวิเศษไชยชาญ ตันติวิทยาภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือข้อ 1 กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเข้าใจการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มยิ่งขึ้น รองลงมาคือข้อ 3 กิจกรรมในโครงการทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือข้อ 4 กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น