ชื่อเรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า นายวรเดช รุลปักษ์
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย)
เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ปีที่ศึกษาค้นคว้า ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การรายงานการศึกษาการสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้มา โดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย) สำนักการศึกษาเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา มี 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม ฉบับที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน ฉบับที่ 3 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ รวมคะแนน 30 คะแนน และฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที (T test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 85.32 /81.10
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนาเทคนิค เป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะ เรื่อง การพัฒนเทคนิคการเป่าขลุ่ยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมรายด้าน และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด