ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริม
การแก้โจทย์ปัญหาด้วยเทคนิคโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางลำไพร ภูหงษ์สูง
โรงเรียน โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมการแก้โจทย์ปัญหาด้วยเทคนิคโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมการแก้โจทย์ปัญหา ด้วยเทคนิคโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมการแก้โจทย์ปัญหาด้วยเทคนิคโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมการแก้โจทย์ปัญหาด้วยเทคนิคโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมการแก้โจทย์ปัญหาด้วยเทคนิคโพลยา แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และสถิติการทดสอบค่าที (ttest)
ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมการแก้โจทย์ปัญหา ด้วยเทคนิคโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.57/82.75 (2) นักเรียนที่เรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเสริมการแก้โจทย์ปัญหาด้วยเทคนิคโพลยา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีระดับความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58 และ S.D. = 0.49)