บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของ ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิตของโครงการโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 7 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งต้องอาศัยทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ประเมินจึงทำการเลือกแบบเจาะจงกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 รวม ทั้งสิ้น 91 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีด้วยกัน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทของโครงการ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จำแนกตามลักษณะของข้อมูล คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ 2) การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1 ข้อมูลจากการประเมินรายงานโครงการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อคำถามของแบบสอบถามใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 3) สถิติหาคุณภาพเครื่องมือ ใช้ IOC หาความสอดคล้องการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ และใช้ วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปช่วยในการประมวลผล
สรุปผลการประเมิน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ว่า โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1 มีผลการประเมินตามประเด็นการประเมินหลัก และประเด็นการประเมินย่อยทุกประเด็นผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ซึ่งสามารถจำแนกรายละเอียดผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ในภาพรวมมีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน รองลงมา ได้แก่ ข้อ 6 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ข้อ 1 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2559)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนของเราน่าอยู่โดยชุมชนเพื่อชุมชน รองลงมาซึ่งได้ค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ กิจกรรมโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้สู่โลกกว้าง ผ่านเกณฑ์ ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในแต่ละกิจกรรม สรุปผลได้ดังนี้
3. ด้านกระบวนการ เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก กิจกรรมที่มีผลการประเมินสูงที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้สู่โลกกว้าง ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก รองลงมา คือกิจกรรมโรงเรียนของเราน่าอยู่โดยชุมชนเพื่อชุมชน ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก และกิจกรรมโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต มีการประเมิน 2 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร และ 2) ด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนา
สภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 สรุปผลได้ดังนี้
4.1 การประเมินผลผลิตด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้าน
หนองเสาเถียร พบว่า พบว่าร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาของนักเรียนโรงเรียนบ้าน
หนองเสาเถียร ผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระ
การเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา รองลงมาได้แก่
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ส่วนสาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำที่สุด ได้แก่
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
4.2 การประเมินผลผลิตความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อ
โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนอง
เสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ของผู้บริหาร ครู
ลูกจ้างประจำ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่มีผลการประเมินสูงที่สุด ได้แก่ การเรียนรู้สู่โลกกว้าง ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือกิจกรรมโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก และลำดับสุดท้าย ได้แก่กิจกรรมโรงเรียนของเราน่าอยู่โดยชุมชนเพื่อชุมชน ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินพบว่า โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเสาเถียร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ตั้งแต่ด้าน บริบท ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต ซึ่งถือได้ว่าการดำเนินโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ดังนั้นจึงควรดำเนินการต่อไปนี้
1. ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของโครงการ และผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษาให้รับทราบอย่างเป็นทางการ ด้วยช่องทางต่างๆ เช่น การประชุมผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น เพื่อสร้างความภาคภูมิใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกๆด้าน และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เกี่ยวข้องอื่นเกิดความสนใจและเห็นความสำคัญ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนด้านต่างๆ ในอนาคต
2. ควรมีการดำเนินการโครงการสืบเนื่องต่อไปในลักษณะเดียวกัน หรืออาจเป็นการดำเนินการโครงการต่อเนื่องจากโครงการเดิมแต่เพิ่มความเข้มข้นและดำเนินการต่อเนื่องมากขึ้น เช่น การระดมสรรพกำลังเพื่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านอื่นๆ เป็นต้น
3. ปัจจัยส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และผู้เกี่ยวข้องเกิดความพึงพอใจ คือ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีความรู้ ความสามารถ ในการดำเนินโครงการ ซึ่งจะต้องใช้ทักษะความรู้ความสามารถที่มีอยู่เข้ามามีส่วนในการดำเนินงานตามโครงการทั้งหมด ดังนั้น จึงเห็นว่าควรให้อิสระในการคิด และการตัดสินใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น บนพื้นฐานความพร้อมของบุคลากรทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความเต็มใจ
4. ควรมีการประเมินโครงการที่สำคัญของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มีลักษณะแนวนโยบายที่บุคลากรทำร่วมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนางานได้ตั้งแต่ก่อนมีโครงการ การเตรียมการและการวางแผนการดำเนินโครงการ ช่วงระหว่างดำเนินโครงการและเมื่อสิ้นสุดโครงการได้เป็นอย่างดี
5. ควรศึกษาสภาพปัญหา สภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการวิจัยที่แตกต่างกันออกไป เช่น วิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความเป็นจริงหลายๆด้าน