ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีสอนรูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาท
ผู้วิจัย นางเฉลิมพร เอิกเกริก
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) หาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีสอนรูปแบบแลกเปลี่ยน
บทบาทที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80 /80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดย
วิธีสอนรูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาท 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ
ความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนรูปแบบแลก
แลกเปลี่ยนบทบาท 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีสอนรูปแบบ
แลกเปลี่ยนบทบาท ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ องค์กา
บริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 9 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 284 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของ
โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1
ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน 40 คน โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling )
ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่ แผนการ
จัดการเรียนรู้รูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาท จำนวน 12 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 24 ชั่วโมง 2)
แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ
เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน 1 ฉบับ และแบบทดสอบหลังเรียน 1 ฉบับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจ
จำแนกตั้งแต่ 0.28- 0.72 ค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.82 ค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.76 3)
แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนรูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาท แบบมาตรา
ส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test
(Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี
1. ผลการวิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้โดยวิธีสอนรูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาท มีประสิทธิภาพ 81.74/ 81.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียน
สอนการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีสอนรูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาท
เท่ากับ 0.53
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการฝึกด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีสอนรูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาทมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแลกเปลี่ยนบทบาท อยู่ในระดับมากที่สุด (4.66) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้